ประวัติศาสตร์ของการเขียนไดอารี่

Excerpt: The History of Diaries

After reading bow_der_kleine’s entry in biolawcom about the history of blog (telling that blog is rooted from fishermen’s log books), I would like to elaborate on this topic by summarizing Catherine O’Sullivan’s article on “Diaries, Online Diaries, and the Future Loss of Archives; or Blogs and the Blogging Bloggers Who Blog Them” published in The American Archivist (vol.68, p. 53-73).

O’Sullivan said that two important factors influencing the origin of diary: the advancement of literacy and Protestant reformation. The article also mentions the development of classification of entries, bookkeeping methodology and accounting theory, and domestic affairs. Diaries also developed as sites of self-exploration, self-expression, self-construction with self-monitoring process as well as self-referential (sites of memory).

ไปอ่าน “Blog คืออะไรกันแน่ ?” ของคุณ bow_der_kleine ใน biolawcom ที่บอกว่า บล็อกนั้นเริ่มต้นมาจาก บันทึกประจำวันของชาวทะเล ถึงแม้จะมีความเป็นไปได้สูง แต่ฟังแล้วก็ทะแม่ง ๆ อยู่ไม่มากก็น้อย แต่นั่นก็อาจจะเป็นมุมมองจากฝั่งยุโรป + computer engineering นิด ๆ หรือเปล่า ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน

ถึงกระนั้นผมก็คิดว่าก็น่าจะลองเขียนมุมมองของฝั่ง library + archival sciences ในอเมริกาดูบ้าง เผื่อมีคนสนใจจริงจัง

เกินครึ่งของคนเขียนบล๊อก (blogger) ในอเมริกามองว่าการเขียนบล๊อกนั้นเป็นการเล่าเรื่องราวของตัวเองในเชิงสร้างสรรค์ (self expression creatively) และการบันทึกประสบการณ์ส่วนตัว (self experience) เป็นอันดับรองลงมา (Lenhart & Fox, 2006) ดังนั้นหากจะเล่าประวัติของการเขียนบล๊อกในอีกมุมมองหนึ่ง ก็น่าจะมองไปที่การเขียนบันทึกเรื่องราวส่วนตัว หรือที่เรารู้จักกันกันในนาม ไดอารี่ (Diary) นั่นเอง

เรื่องราวใน entry นี้ ผมเรียบเรียงมาจาก Diaries, Online Diaries, and the Future Loss of Archives; or Blogs and the Blogging Bloggers Who Blog Them โดย Catherine O’Sullivan ซึ่งเป็นบทความที่ได้รับรางวัล Theodore Calvin Pease Award และได้รับการตีพิมพ์ลงใน The American Archivist ซึ่งเป็นวารสารวิชาการชั้นนำด้านจดหมายเหตุของอเมริกา

ต้นกำเนิดของการเขียนไดอารี่มีมาจากหลายสาย แต่ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเขียนบันทึกอย่างแพร่หลายในฝั่งตะวันตก ก็คือ การพัฒนาของมนุษย์ในด้านการอ่านออกเขียนได้ และการเปลี่ยนแปลงของศาสนาคริสต์นิกาย Protestant

การพัฒนาด้านการอ่านออกเขียนได้ในตะวันตก ก็ดูจะรุ่งเรืองมากที่สุดก็เห็นจะเป็นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 แต่ก็ยังจำกัดในหมู่บุคคลบางกลุ่ม ได้แก่ เหล่าเสมียนตรา และบรรดาผู้มีอันจะกินในเขตเมืองในฝรั่งเศส อังกฤษและเยอรมัน ซึ่งการอ่านออกเขียนได้ ทำให้สิ่งตีพิมพ์และการอ่านในใจได้รับการยอมรับมากขึ้น (เพราะสมัยก่อนนิยมการอ่านออกเสียง ให้กับหมู่คนจำนวนมากได้รับทราบ) โดยเฉพาะการอ่านในใจ ทำให้เกิดการตีความผ่านมุมมองของตัวเองจากการอ่านหนังสือ ใบปลิวและป้ายปิดประกาศ ดังนั้นการตีความ และการสร้างความเข้าใจจึงกลายมาเป็นประสบการณ์เชิงปัจเจก และเป็นส่วนบุคคล มากกว่าที่จะเป็นกิจกรรมสาธารณะ

ในช่่วงเวลาเดียวกัน ก็เป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงของนิกาย Protestant ในยุโรป เริ่มขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 คู่มือการปฏิบัติตนได้ถูกแจกจ่ายไปยังเขตแดนต่าง ๆ ที่มีผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายนี้อยู่ โดยคู่มือดังกล่าว ได้แนะนำให้ผู้อ่านหมั่นขอพร ทำสมาธิ และประเมินตนเอง (self-examination) ทุกวัน นอกจากนี้ตัวคู่มือยังแนะนำให้ผู้นับถือนิกาย Protestant จดบันทึกความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณ (spiritual progress) เพื่อดูการพัฒนาของชีวิตและความแตกต่างของช่วงเวลาที่ผ่านมา

ในหนังสือ The Saint’s Everlasting Rest เขียนขึ้นในปี 1650 นักบวช Richard Baxter ได้บอกให้ผู้รับใช้จดบันทึกข้อผิดพลาดส่วนตัวทุกคืน ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน Isaac Ambrose ได้แนะนำให้คนอ่านบันทึกความพยายามในการทำสมาธิใน “Register” ซึ่งเปรียบเสมือนบันทึกประจำวันรายงานต่อพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งข้อความดังกล่าวปรากฏในงานเขียนของเขาที่ชื่อ Prima, the First Thing in reference to the Middle & Last Things ตีพิมพ์ในปี 1654

หญิงผู้สูงศักดิ์ในอังกฤษ (Vincountess) ชื่อว่า Elizabeth Mordaunt ได้จดบันทึกข้อผิดพลาดประจำวัน และขอพรให้กับครอบครัวของเธอ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1656 จนถึง 1678 ในไดอารี่ของเธอตั้งแต่ปี 1657 ได้มีการจำแนกหมวดหมู่ออกเป็น 2 คอลัมน์ ได้แก่ To Returne Thanks For และ To Aske Perden For.

การจดบันทึกได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในกลุ่มบรรดาผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกาย Protestant โดยเฉพาะในกลุ่ม Quakers, Covernanters, และ​ Puritans ที่เชื่อว่าชีวิตทั้งในชาตินี้และชาติหน้าเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน นอกจากนี้ยังได้กระจายไปกลุ่มคนร่วมสมัยอื่น ๆ ด้วย โดยในบันทึกของ Ralph Josselin และ John Evelyn พบว่า นอกเหนือจากการจดบันทึกทางศาสนาแล้ว ยังรวมไปถึงการเขียนข้อคิดเห็นส่วนตัวต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสาธารณะและเรื่องส่วนบุคคล แต่ที่ดูจะแหวกแนวมากที่สุดในยุคนั้น ก็เห็นจะเป็นไดอารี่ของ Samuel Pepys ข้าราชการชาวอังกฤษที่จดบันทึกไดอารี่ตั้งแต่ปี 1660-1669 โดยเรื่องราวที่จดบันทึกไม่มีเรื่องเกี่ยวกับศาสนาเลยแม้แต่น้อย กลับมีแต่เรื่องอาหาร เครื่องดื่มและผู้หญิง ที่ออกจะดูตรงไปตรงมา และให้รายละเอียดของแต่ละเรื่องอย่างละเอียดยิบ

หลังจากนั้นการเขียนไดอารี่ จึงกลายมาเป็นการจดบันทึกเรื่องราวธรรมดา ที่นอกเหนือจากเรื่องศาสนามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพ อาชีพการงาน กิจกรรมทางธุรกิจ การซื้อขาย การสนทนา การเดินทาง หรือแม้แต่สภาพอากาศ โดยเน้นการอ้างอิงถึง “ข้อเท็จจริง” มากขึ้น ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงการก้าวย่างสู่สมัยใหม่ที่เน้นเรื่องของ รัฐ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และธุรกิจมากขึ้น ที่ออกจะดูโดดเด่นในยุคหลัง ๆ นี่ก็เห็นจะเป้น Samuel Sewell ที่แยกเขียนไดอารี่ออกเป็นสองเล่ม เล่มนึงก็จะเป็นเรื่องทางโลก ในขณะที่อีกเล่มหนึ่งก็จะเป็นเรื่องทางศาสนาล้วน ๆ

หลังจากนั้นการเขียนไดอารี่ก็ได้พัฒนาตามความก้าวหน้าขององค์ความรู้ทางด้าน bookkeeping methodology และ accounting theory ที่เต็มไปด้วยตัวย่อ รหัสลับต่าง ๆ ที่คนอ่านในยุคหลังไม่สามารถจะเข้าไปถึงโลกส่วนตัวของคนเขียนได้ ในขณะเดียวกันเรื่องราวส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องท้องถิ่นมากกว่าจะเป็นเรื่ิองส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเกิด การตาย การแต่งงาน หรือแม้แต่เรื่องสภาพอากาศ

แต่เมื่อเวลาผ่านไป การเขียนไดอารี่ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของค้นพบ การแสดงออก และการพัฒนาตนเอง กระบวนการในการตรวจสอบตัวเอง (self-monitoring) ก็ติดไปกับแนวคิดที่ตนเองยึดถือไม่ว่าจะเป็น individualism, capitalism, nationalism, และ industralism. อย่างไรก็ตามในศตวรรษที่ 19 ที่อัตราการอ่านออกเขียนได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในหมู่ผู้หญิง ก็ทำให้เกิดความนิยมในการเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความรัก ความโรแมนติกมากขึ้น ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมถึงความเหมาะสม อันเนื่องมาจากต้นกำเนิดของการเขียนไดอารี่ที่มาจากแรงผลักดันทางศาสนา

นอกจากนี้การกำเนิดของกลุ่มชนชั้นกลางในสังคม ก็มีส่วนต่อแนวทางการเขียนไดอารี่ โดยพบว่าชนชั้นกลางจะเป็นกลุ่มคนที่มีเวลาว่าง ที่จะมีกิจกรรมยามว่างและมีความสนใจส่วนตัว นอกเหนือจากความสนใจเรื่องท้องถิ่น การเขียนไดอารี่ก็กลายเป็นกิจกรรมที่เป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นกลางเหล่านี้ จนอาจกล่าวได้ว่าเป็น ยุคทองของการเขียนไดอารี่ ที่เน้นในเรื่องของการท่องเที่ยว การจดบันทึกเพื่อช่วยจำและอ้างถึงในอนาคต

ที่น่าสนใจไปมากกว่านั้นก็คือ การเขียนไดอารี่ที่มีเป้าหมายเพื่อให้คนอื่นได้อ่านด้วย นอกเหนือไปจากคนเขียนเอง ไม่ว่าจะเป็น diary ของ Bashkistseff หรือ Elizabeth Pepys โดยบางคนก็มีกลุ่มผู้อ่านที่ชัดเจน ส่วนมากก็จะเป็นบุคคลในครอบครัว หรือในหมู่เพื่อนฝูง และการแลกเปลี่ยนกันอ่านไดอารี่กลายเป็นที่นิยมในศตวรรษที่ 19 อิีกด้วย ซึ่งภายหลัง กลายมาเป็นข้อถกเถียงในหมู่นักวิชาการและนักประวัติศาสตร์ว่า ไดอารี่ถือเป็นเอกสารส่วนบุคคลหรือสาธารณะกันแน่

แต่ถึงกระนั้น ทั้งหลายทั้งปวง ผมก็คงต้องขอย้ำว่าก็ไม่มีบทสรุปที่ชัดเจน นี่เป็นมุมมองของฝั่งตะวันตก ฝั่งตะวันออกของเราก็คงจะมีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย อย่างเมืองไทย หลักศิลาจารึกสมัยสุโขทัย (ถ้าทำขึ้นในสมัยนั้นจริง ๆ) ก็น่าจะถึอได้ว่าเป็นการจดบันทึกไดอารี่ลำดับแรก ๆ ของประวัติศาสตร์ชาติไทย

ส่วนตัวผมเอง ประวัติการเขียนบันทึกเรื่องราวส่วนตัว ก็รู้สึกจะกระท่อนกระแท่น จำได้ว่า สมัยเรียนอยู่ชั้นประถม ครูบอกให้เขียนไดอารี่ตลอดเทอม ด้วยความขี้เกียจ ไม่ได้เขียนเนื้อความอย่างอื่นเลย เขียนแต่ว่าวันนี้ได้เงินจากแม่มา xx บาท กินข้าวกลางวัน xx บาท คงเหลือใส่กระปุก xx บาท เท่านี้แหละ เหอๆๆ นึกแล้วก็ยังขำตัวเองจนทุกวันนี้ ทำไปได้!

รายการอ้างอิง

Lenhart, A. & Fox, S. (2006). Bloggers: A portrait of the Internet’s new storyteller. Retrieved http://www.pewinternet.org/PPF/r/186/report_display.asp [PDF]

O’Sullivan, C. (2005). Diaries, online diaries, and the future loss of archives; or, blogs and the blogging bloggers who blog them. The American Archivist, 68, 53-73.

Advertisement

2 responses to “ประวัติศาสตร์ของการเขียนไดอารี่

  1. ผมคิดว่าเรามองกันคนละมุมครับ

    ที่ผมบอกว่า Blog มาจากทะเล เพราะผมจับเอาคำว่า Log มาเขียนครับ ว่ามันมาได้อย่างไร ซึ่งจริง ๆ Blog มันมาจาก Log ก่อนแล้วจึงเป็น Web-Log แล้วจึงเอาคนมีทำเป็น Log บันทึกชีวิตและความคิดเห็นตัวเอง ตรงนี้เองครับเป็นจุดเชื่อมต่อของ Blog กับ Diary (ก่อนหน้าคงไม่มีใครเขียน Diary ลงใน logfile )

    ซึ่งผมมองว่าที่คุณ iTeau เขียน เป็นเรื่องราวของ Diary และรูปแบบ Blog ในปัจจุบันครับ ซึ่งเป็นคนละมุมมองกับผม จึงไม่แปลกครับหากคุณ iTeau อ่านเรื่องที่ผมเขียนแล้วจะรู้สึกแปลก ๆ อยู่บ้าง :D

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s