ไปอ่านข่าว สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ จัดตั้งเรื่องร้องทุกข์ ก็เลยเข้าไปดูในเว็บของสภาฯ ก็ไปลองอ่านหนังสือครบรอบ 9 ปี (ในหน้าเว็บของสภาฯ ข้างล่างมี link สมุดปกขาว ฟังแล้วก็ทะแม่งเหมือนกันแฮะ มันห่างกับ “หนังสือปกขาว” ไปนิดเดียวเองนะเนี่ย) เรื่อง ปัญหาท้าทายสื่อมวลชนไทย (PDF) มีงานเขียนที่น่าสนใจหลายเรื่อง แต่ส่วนใหญ่จะออกไปทางประเด็นเกี่ยวกับสื่อมวลชนในทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์ ระบอบการเมืองไทย ตลอดจนเรื่องสิทธิเสรีภาพ บทบาทของสื่อมวลชนท้องถิ่น จริยธรรม และอุดมการณ์
มีอยู่งานเขียนนึงที่แตะนิดหน่อย เกี่ยวกับความท้าทายของสื่อมวลชน จากนักข่าวรากหญ้า (Citizen Journalist) หรือนักข่าวภาคประชาชน (Citizen Journalist) คือ บทความเรื่อง โฉมหน้าใหม่ของธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์: อนาคตของหนังสือพิมพ์ (หน้า 45)
จริง ๆ ความท้าทายของนักหนังสือพิมพ์ มันเริ่มมาตั้งแต่การเกิดขึ้นมาของเว็บแล้ว ที่หลายคนพอจะมองออกว่า สมัยก่อนคนที่จะบริโภคข่าวสาร ได้ต้องเสียตังค์ซื้อหนังสือพิมพ์ (ไม่นับพวกที่ไปอ่านหน้าตาเฉยตามแผงหนังสือ) และนั่นคือรายได้ที่สำคัญส่่วนหนึ่งของผู้ผลิตหนังสือพิมพ์ (อีกส่วนหนึ่งคือ ค่าโฆษณา) แต่พอมีเว็บเกิดขึ้น การที่จะปิดตัวเองให้อยู่แต่ในโลกใบเก่า คงอยู่ไม่ได้ การแข่งกันนำเสนอข่าวบนเว็บ ก็กลายเป็นว่า นักหนังสือพิมพ์ก็กลัวจะขายที่เป็นตัวเล่มไม่ได้ (ซึ่งอันนี้มีทั้งที่เป็นจริง และไม่จริง) นอกจากจะเป็นความท้าทายของการอยู่รอดของหนังสือพิมพ์แล้ว มันยังเป็นการเปิดโอกาสของการแข่งขันมากขึ้น
คำว่า หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น พอเอามาขึ้นบนเว็บ ก็กลายเป็นหนังสือพิมพ์ระดับชาติ ระดับนานาชาติ ได้ คุณภาพของข่าวก็แข่งกันที่ความรวดเร็วมากขึ้น (ถึงแม้ว่าหนังสือพิมพ์หลายหัวในบ้านเรา ยัง update ข่าวตามกรอบเช้า บ่ายอยู่เหมือนเดิม ด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่)
แต่พอมาถึงในยุค web 2.0 แล้วนี่ พลังประชาชนกลายเป็นความท้าทายที่สำคัญของนักข่าวไป ไปเรียบร้อย
สิ่งหนึ่งที่นักหนังสือพิมพ์ (โดยเฉพาะบ้านเรา) อ้างเป็นประจำ คือ อ้างความเป็นพวกเดียวกับประชาชน ตัวอย่างที่เห็นประจำ ก็บอกว่า เป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชน เป็นประตูสู่ข้อมูลข่าวสาร
แต่ประชาชนทั่วไปก็ทราบดีว่าว่า สื่อมวลชน เป็นกระบอกเสียงที่ต้องผ่านการกลั่นกรองหลายทอด เป็นประตูสู่ข้อมูลข่าวสารที่มี CTX ตรวจจับหลายขั้นเหลือเกิน ไหนยังมีประเด็นเรื่องความน่าเชื่อถือ ทั้งทางด้านวิชาชีพ (เช่น ลองดูจาก บทรวมข้อผิดพลาดของสื่อต่างประเทศในปี 2006 ดู ขำ ๆ แต่ได้ใจความ) หรืออันเนื่องมาจากเรื่องจริยธรรม (เหมือนอย่างที่สนธิ ลิ้มทองกุล ออกมายอมรับตรง ๆ ว่า “ความเป็นกลางของสื่อมวลชนไม่มีอยู่จริง“) จริยธรรมหรือจรรยาบรรณ ที่เขียนขึ้นมันดูก็เป็นเหมือนแค่ utopia เท่านั้น ดูตัวอย่างง่าย ๆ ข่าวสารเดี๋ยวนี้ ถ้ามันเป็นข่าวเพียว ๆ มันก็ขายไม่ได้ มันต้องมีสีสัน สมัยก่อนเป็นกับข่าวพวกอาชญากรรมอย่างเดียว แต่เดี๋ยวนี้ ข่าวประเภทไหน ๆ มันก็ถูกระบายแต่งแต้มไปด้วยข้อคิดเห็นเสียส่วนมาก ที่หลายคนไม่สามารถแยกคุณค่าของ “ข่าว” กับ “ความคิดเห็น” ที่ปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์ ออกจากกันได้
ยิ่งตอกย้ำไปด้วยอิทธิพลของสื่อ ตามทฤษฎีของนักสื่อสารมวลชน ที่ว่า พูดมาก พูดนาน จากไม่เชื่อ ก็อาจทำให้ลังเล หรือเปลี่ยนใจตาม “เขาว่า” ได้เหมือนกัน
แรงผลักดันพวกนี้ ทำให้บทบาทของนักข่าวภาคประชาชนมันแรงมากขึ้น ถามว่าจริง ๆ แล้วมันเรื่องใหม่ไหม มันก็ไม่ใช่เรื่องใหม่
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ Manager Online ได้รับความนิยม (รวมทั้งก่อนหน้าที่จะมีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างโจ่งแจ้ง) ที่นอกเหนือไปจากเนื้อหาที่เข้มข้นแล้ว ก็คือ ชุมชนคนอ่านนั่นเอง ชุมชนคนอ่านที่ active มันก็กลายเป็น ไทยมุง ได้เหมือนกัน จำได้ว่า เวลาซ้อเจ็ดมาแฉอะไรทีไร คนก็จะมา “เม้าท์” กันต่อในความคิดเห็นข้างล่าง (แม้ว่าส่วนใหญ่ comment แรก ๆ จะเป็นการนับคนเข้าก็เหอะ)
หรืออย่างในคุยคุ้ยข่าว ผู้ชมก็สามารถส่งข้อความไปร่วม “คุ้ยข่าว” ได้ เป็นต้น
หลายคนบอกว่า จริง ๆ แล้ว แค่มีโทรศัพท์มือถือแบบมี SMS หรือมีกล้องได้เนี่ย ก็เป็นนักข่าวภาคประชาชนได้แล้ว แต่จริง ๆ องค์ประกอบที่ขาดหายไปก็คือ ความเป็นมวลชน นั่นเอง ซึ่งถ้าต้องผ่านสื่อมวลชนช่องทางทั่วไป สิ่งที่เรานำเสนอ อาจได้เป็นข่าว หรือไม่เป็นก็ได้ ตามใจคนที่เห็นว่าเป็นข่าว อย่างเช่น วิดีโอของเด็กนักศึกษาถูกจับในห้องสมุดของ UCLA จะไม่เป็นข่าวได้เลย ถ้าไม่เอาขึ้น Youtube
อินเตอร์เน็ตก็เลยเป็นช่องทางที่ทำให้เกิดเสรีภาพมากขึ้น ประชาชนไม่ใช่อยู่ในฐานะผู้บริโภคอีกต่อไป แต่ยังเป็นผู้สื่อข่าว ผู้ผลิตข่าวอีกด้วย ยกตัวอย่างง่าย ๆ ยังไม่ต้องเอาถึง web 2.0 application เอาแค่ Forward Mail หล่ะ คนใช้และคนไม่ใช้อินเตอร์เน็ท ต่างก็เรียนรู้การได้มาซึ่งข่าวสาร (ทั้งที่ลับและไม่ลับ) โดยไม่ต้องผ่าน กอง บก. แต่ Forward mail ก็มีปัญหาเรื่อง spam ที่น่ารำคาญ และการวัดความนิยมที่ไม่ชัดเจน เท่ากับ web 2.0 application ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นทั้ง Digg, wikipedia, newsvine, newsmap หรือ OhMyNews ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในเกาหลี ที่ตอนนี้เริ่มขยาย model ออกไปประเทศอื่น ๆ แล้ว เหล่านี้เป็นต้น (ผมมีเพื่อนคนนึงเป็น visiting scholar เป็นนักหนังสือพิมพ์จากเกาหลี ก็บอกว่า นักหนังสือพิมพ์ในเกาหลีก็ไม่ค่อยชอบและกลัว ๆ อิทธิพลของ OhMyNews อยู่ไม่น้อย)
แต่ในบรรดา application จะโดดเด่นและทรงพลังที่สุดก็น่าจะเป็น blog นี่แหละ เพราะเขียนเอง edit เอง เสรีภาพเต็มเปี่ยม เป็นเจ้าของเรื่องของตัวเอง เล่าเอง ตัดต่อเอง ทำเองหมด ความนิยมก็วัดจากพวก aggregator ต่าง ๆ ข่าวที่ได้จาก source พวกนี้ นอกจากจะสด ใหม่แล้ว ยังมีความ authentic มากกว่าด้วย ซึ่งแน่นอนว่า ถ้าพลังตรงนี้มันมีมากขึ้น ๆ นักสื่อสารมวลชน ก็เริ่มจะห่วงว่า จะทำให้คนหันไปอ่าน blog มากกว่าไปอ่านหนังสือพิมพ์หมด แล้วในที่สุดก็จะอยู่ไม่ได้ (หรือดูว่าแนวคิด Youtube TV ก็ได้รับการตอบรับ อย่างดีทีเดียว จนคนในวงการทีวีก็อดไม่ได้ที่จะจับตามอง)
ก็เลยมีการพยายามหาทางที่จะทำให้หนังสือพิมพ์ทั้งหลาย ต่างปรับตัวเข้ากับยุคสมัยเหล่านี้ หนังสือพิมพ์หลายฉบับ แทนที่จะจ้างนักข่าวเพิ่ม ก็เริ่มจ้าง blogger แทน หรือนักสื่อสารมวลชนอย่าง Jay Rosen แห่ง Pressthink ก็พัฒนา project NewAssignment.net ขึ้นมา เพื่อหาวิธีการที่จะดึงพลังภาคประชาชนเข้ามาใช้ในสื่อมวลชน
ที่เห็นเป็นรูปธรรมแน่ ๆ ก็คือ การร่วมมือกันระหว่าง web 2.0 application ต่าง ๆ กับสำนักข่าว เช่นล่าสุด Flickr (โดย Yahoo) กับ Reuters ร่วมมือกัน ให้คนใช้ Flickr สามารถส่งภาพข่าวไปยัง Reuter ได้ เป็นต้น (Tom Glocer, CEO ของ Reuters มีบทความเกี่ยวกับ ความเชื่อถือในยุคของหนังสือพิมพ์ภาคประชาชน – Trust in the Age of Citizen Journalism แนะนำครับ)
บ้านเรายังเป็นอย่างนั้นไม่ได้ ก็เพราะไม่เพียงแต่ Internet penetration แล้ว internet+media literacy ที่ยังน้อยแล้ว ยังมีเรื่องของ perception ของสื่อที่ทรงอิทธิพล ก็ยังคงมีอยู่มาก ในขณะเดียวกัน ประชากร “active” blogger ก็ไม่เยอะเท่าไหร่ lurker น่าจะมีเยอะกว่า อีกอย่าง การสร้างวัฒนธรรมใหม่ โดยเฉพาะวัฒนธรรมที่ไม่ชัดเจนในเรื่องของ identity ด้วยแล้ว ไม่ใช่เรื่องง่าย ยกตัวอย่างเช่น เพิ่งไปเห็นใน กระทู้ในห้องราชดำเนินใน Pantip.com เกี่ยวกับเรื่อง TCDC กับ TK Park ที่มีแนวโน้มร่อแร่ ก็มีคนมาเขียนตอบไปเรื่อย จนมีคน ๆ นึงเขียนมาว่า
“ออกข่าวรึยัง ให้ออกข่าวแล้วค่อยมาพูดดีกว่าไหม
ยังงี้ใครจะพูดก็ได้ แล้วด่ารัฐบาลชุดนี้ไปก่อน
ถ้าไม่เป็นจริง ก็หายไปกับสายลม ไม่คิดจะรับผิดชอบกะทู้ที่ตั้งเลย”
ถึงแม้จะมีประเด็นอื่น ๆ แฝงมากับความคิดเห็นนี้มาด้วย แต่จากความคิดเห็นนี้ ก็มองว่า “ความเป็นข่าว” ดูเหมือนว่าจะยังต้องยึดติดกับสื่อมวลชนอยู่ดี ซึ่งผมว่าคนส่วนใหญ่ก็ยังคิดแบบนี้
ส่วนไอ้เรื่องจริยธรรมก็ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นห่วงเลย ก็ในเมื่อคนไม่เชื่อในจรรยาบรรณหรือจริยธรรมในวิชาชีพสื่อมวลชนแล้ว นับประสาอะไรกับสื่อประชาชน มันก็คงไม่ต่างกัน (หรือเปล่า)
จริง ๆ มีอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจเหมือนกัน แต่เหนื่อยแล้วอ่ะ
ความเป็นผู้ทรงอิทธิพลของสื่อในเมืองไทย ถูกสั่งสมมานาน ผ่านความสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าคงปฏิเสธไม่ได้ถึงความสัมพันธ์กับการเมืองและผู้มีอำนาจในสังคม เมื่อถึงยุคที่ประชาชนเป็นสื่อได้ด้วยตัวเอง ย่อมสั่นคลอนอำนาจและอิทธิพลที่มีอยู่อย่างรุนแรง
แต่ยุคสมัยย่อมเปลี่ยนแปลงไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จะทำให้การรับรู้ข่าวสารของสังคมไทยเปลี่ยนไปเช่นเดียวกับสังคมโลก ถึงแม้ขณะนี้จะเป็นเพียงก้าวแรก แต่เชื่อว่าอีกไม่นาน อำนาจในการนำเสนอเรื่องราวและข่าวสาร จะไม่อยู่ในกำมือของสื่อเพียงไม่กี่รายอีกต่อไป
อ่านแล้วเครียด! แต่ก็จริงอ้ะ
เจอกันงาน YouMedia ! ;)
เออ แต่เรื่อง ความเป็นกลางของสื่อ ผมว่ามันก็ไม่จำเป็นต้องมีนะ
ขอความจริง แต่ไม่ต้องกลาง
เพียงแต่คุณต้องชัดเจนว่า คุณไม่เป็นกลาง
ไม่ใช่เที่ยวไปบอกชาวบ้านว่าตัวเองเป็นกลาง แต่จริง ๆ เปล่า
สื่อในที่สุดมันก็ต้องเลือกข้าง ผมว่านะ จะโดยตั้งใจรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม
เพราะเรื่องราวเดียวกัน มันเสนอได้หลายมุมอยู่แล้ว
อย่างนสพ.อังกฤษเขาก็ชัดเจนดีในวัฒนธรรม
คือรู้ว่า The Guardian จะมาแนวไหน
ถ้าเป็น Daily Telegraph, The Times หรือ The Independent จะเป็นแนวไหน โดยปกติจะเลือกข้างไหน พรรคอนุรักษ์นิยม หรือแรงงาน
หรืออย่างในเยอรมนี Süddeutsche Zeitung ก็จะเป็นพวกหัวใหม่ หรือ Die Zeit จะเป็นยังไง
คือผมว่าเลือกข้างมันก็ได้นะ แต่อย่ากั๊ก แค่นั้นเอง
อย่างสื่อทางเลือกหลาย ๆ อย่าง รวมทั้งวิทยุชุมชน
พวกนี้เลือกข้างทั้งนั้น เพียงแต่ข้างที่เลือกคือชุมชน คือคนตัวเล็ก ๆ ที่นาน ๆ จะถูกเลือกซะที
แต่ถามว่าแบบนี้เลือกข้างไหม ก็คือเลือกอยู่ดีนั่นเอง
อันนี้เฉพาะเรื่องรายงานข่าวเลยนะ
ส่วนที่เป็นคอลัมน์วิเคราะห์วิจารณ์นี่ ยังไงก็ต้องเลือกข้างแน่ ขึ้นชื่อว่าบทวิจารณ์