Turnitin โปรแกรมตรวจการลอกการบ้าน รายใหญ่ที่ให้บริการว่า 6,000 สถาบันการศึกษา ใน 90 กว่าประเทศ รวมไปถึงมหาลัยชั้นนำ หลายแห่ง เช่น Harvard (ไม่รู้ว่า ที่ไทยมีใครใช้บ้าง) กำลังได้รับความนิยม จากสถาบันการศึกษามากขึ้นเรื่อย ๆ หลักการง่าย ๆ ก็คือ เอาการบ้านของนักเรียน ไปเปรียบเทียบกับการบ้าน ของงานของคนอื่น ๆ ที่อยู่ในฐานข้อมูล แล้วบอกว่างานที่เอามาส่ง เหมือนกับงานอื่นเท่าไหร่ โดยข้อมูลที่จัดเก็บในฐานข้อมูล ก็คือ งานของนักเรียนที่บรรดาคุณครู upload เพื่อให้โปรแกรมเอาไปตรวจสอบนั่นเอง
ล่าสุด กลายเป็นว่า Turnitin กำลังเผชิญกับปัญหาด้านสิทธิส่วนบุคคลของนักเรียน กับทรัพย์สินทางปัญญาไปเสียแล้ว เมื่อมีเด็กนักเรียน High School ในรัฐอริโซน่า สองคน ฟ้องร้องบริษัท iParadigms เจ้าของบริการนี้แล้ว ด้วยข้อหาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
ในอเมริกา มีกฏหมายฉบับหนึ่ง คือ Family Education Rights and Privacy Act (FERPA) เป็นกฏหมายที่คุ้มครองสิทธิของนักเรียน และผู้ปกครองในข้อมูลทางการศึกษา เพื่อป้องกันไม่ให้ โรงเรียนเปิดเผยข้อมูลของนักเรียนโดยไม่ได้รับการยินยอม ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกันกับ HIPAA ซึ่งเป็นการข้อมูลทางการแพทย์
ดูเหมือนว่า งานนี้ มีโอกาสที่เด็กจะเป็นคนชนะคดี เนื่องจากบริษัท เอาข้อมูลเอาไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า ซึ่งไม่ตกอยู่ในข้อตกลงเกี่ยวกับ Fair Use ในขณะที่ฝ่ายบริษัทเจ้าของผู้ให้บริการ ก็อ้างกรณี Owasso Independent School District v. Falvo ที่บอกว่า งานเขียนของนักเรียนนักศึกษา ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่ม “student education records” ซึ่งทำให้ไม่ตกอยู่ในข่ายของ FERPA
Michael J. Hemmet บอกว่า วิธีทางหนึ่ง ที่น่าจะแก้ไขปัญหาข้อนี้ได้ นั้นอยู่ที่ตัวสถาบันการศึกษามากกว่า กล่าวคือ หา model และมาตรฐานที่ให้สถาบันฯ เป็นตัวกลาง มากกว่าที่จะให้บริษัทเป็นตัวกลาง และ model ที่จะนำมาใช้ อาจจะต้องมี open source เข้ามามีบทบาทด้วย ซึ่งก็เป็นอะไรที่น่าจับตามองต่อไปเรื่อย ๆ
[อ่านเพิ่มเติม Researchforward; CCCC-IP: Plagiarism Detection Services Bibliography]