เห็นใครต่อใครก็พูดถึงเรื่อง งานสัปดาห์หนังสือ ดูเหมือนเราจะเห่ยอยู่คนเดียว เห็นงานสัปดาห์หนังสือประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ก็อดปลื้มใจแทนคนจัดงานไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็อดมองย้อนกลับไป ประเด็นเดิม ๆ ที่คนชอบเปรียบเทียบร้านหนังสือ กับห้องสมุดไม่ได้ ว่าทำไมคนรู้สึกพออกพอใจกับร้านหนังสือมากกว่าห้องสมุด
เอาหล่ะ หากมองข้ามประเด็นฝั่ง providers (ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด เก่า ไม่น่าเข้า ไม่ cool ไม่ hip หนังสือน้อยอะไรก็แล้วแต่) คอลัมน์ moving on ใน Wall Street Journal พยายามตั้งข้อสังเกต เหตุผลที่คนชอบ “เป็นเจ้าของ” หนังสือโดยอ้างเหตุแห่งวัตถุนิยม ในขณะเดียวกันก็เปรียบเทียบห้องสมุดกับเทคโนโลยี โดยอ้าง generation gap จริง ๆ อ่านแล้วก็ไม่รู้สึกว่ามันมีประเด็นอะไรแปลกใหม่ เพียงแต่สะดุดกับประเด็นของ วัตถุนิยม ว่า มันเป็นเหตุเป็นผลเช่นนั้น “ทั้งหมด” จริง ๆ หรือ
ในขณะที่บางคนมองห้องสมุดกับร้านหนังสือเป็นคู่แข่งกัน แต่ในอีกมุมมองหนึ่ง ห้องสมุดกับร้านหนังสือ ไม่ใช่เป็นคู่แข่งเสียทีเดียว หากแต่เป็นดั่งน้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่าเสียมากกว่า ตัวอย่างโด่งดังสุดแถว ๆ บ้านเรา ก็คงจะเป็น Library@Orchard ที่ร้านหนังสือ Kinokuniya ที่ตั้งขึ้นก่อนได้ผลประโยชน์โดยตรงจากการ มีห้องสมุดอยู่ในบริเวณใกล้เคียง
ล่าสุดห้องสมุดในรัฐ Oregon ต้องถูกปิดตัวลง ข่าวใน Main Tribune (Will the closing of the libraries spur a … Bookstore boom?) กล่าวว่า ถึงแม้คนจะเข้าร้านหนังสือมากกขึ้น แต่ร้านหนังสือเหล่านั้นก็เสียลูกค้ารายใหญ่ไป
Barnes & Noble stores don’t release sales figures or measure foot traffic through the doors, but Budmayr said there have been more people in the store in recent days.
He said Barnes & Noble won’t be able to fill the browsing void left by the library closures.
“The library did a great job of filling that need,” Budmayr said. “Sadly, we can’t fill that for them, we have to sell. It’s OK to read a few pages, but we encourage folks to buy a book and take it home and make it theirs.”
ในบทความของ Wall Street Journal ยังพูดถึงเปรียบเทียบระหว่าง Google กับห้องสมุด ซึ่งเป็นคู่แข่งสุดคลาสสิก ถ้าห้องสมุดไม่คิดจะปรับตัว อย่างน้อยให้ visible บนโลกของผู้ใช้ ทถูกกวาดต้อนด้วยเทคโนโลยี สุดท้ายห้องสมุดก็คงจะถูกกลืนไปในที่สุด นี่เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดอย่างง่าย ๆ ว่า “ทำไมห้องสมุดถึงต้องรู้จักลงทุนด้านเทคโนโลยี”
[via blyberg.net; LISNews]
ได้อ่านบทความของพี่หลายๆ บทความแล้วรู้สึก ประทับใจกับการวิเคราะห์ของพี่มากครับ
ผมเองจบทางบรรณารักษ์มายังไม่เคยได้ไอเดียแบบพี่เลย
ถ้าเป็นไปได้อยากจะคุยกะพี่ได้มั้ยครับ
ติดต่อผมผ่านทางอีเมล์ก็ได้ครับ
dcy_4430323@hotmail.com
ผมชื่อวายครับ
อ่านแล้วก็อึ้งไปนิดนึง…
ผมไม่ได้เข้าห้องสมุดนานแล้ว…
เข้าแต่ร้านเนต กับร้านหนังสือ
…คือ ผลกระทบของห้องสมุดอาจจะเกิดจากการที่ร้านหนังสือยอมให้ยืนอ่านได้ โดยไม่หวง และมีหนังสือหลายๆ เล่ม พร้อมให้คนเข้ามาอ่านโดยไม่ได้ห่อพลาสติกไว้ จึงทำให้ช่วงเวลานี้ร้านหนังสือจึงมีคนสนใจมากกว่า…
แล้วห้องสมุดล่ะ…
ผมเห็นหลายๆ ห้องสมุดเริ่มปรับตัวที่จะให้ความสำคัญกับคอมพิวเตอร์ การสืบค้น อย่าง TCDC สามารถค้นหาและรู้ข้อมูลย่อๆ ของหนังสือได้…บางเล่ม!
…ก็คงเป็นการดีครับ ถ้าทั้งห้องสมุดแล้วก็ร้านหนังสือปรับตัวไปด้วยกัน ผลดีก็ตกมาอยู่กับผู้อ่านทั้งหลาย…
…แต่อย่าลืมช่วยกันรณรงค์การอ่านหนังสือกันต่อไปด้วยนะครับ
เรื่องสุดคลาสสิคทีเดียว ชอบๆ
.
.
ส่วนตัวนะเรื่องงานสัปดาห์หนังสือเห็นแล้วก็ดีใจ ในขณะเดียวกันก็สะท้อนใจเหมือนกัน คนเยอะก็จริงแต่ว่า “การอ่านหนังสือ” ก็ยังเป็นเรื่องที่เราคิดว่ายังอยู่ในอาการโคม่า มีกลุ่มคนที่ไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับคนทั้งประเทศ(แต่ก็ดีใจที่มี)
ถ้าจะว่ากันเรื่องห้องสมุดกับร้านหนังสือ .. ที่เมืองไทย ในความคิดเรานะ มันยังไม่สูสีนักอ่ะ คือห้องสมุดยังไม่เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคน ร้านหนังสือเองก็เช่นกัน (แต่เห็นด้วยในกรณีน้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่านะ)
เราเชื่อว่าห้องสมุดหลายๆที่กำลังพยายามปรับตัวอย่างถึงที่สุด เท่าที่ตัวเองจะทำได้ ร้านหนังสือเองก็เหมือนกัน
อีกอย่างมันก็ย้อนกลับมาทีว่า ถ้าเราปลุกฝังให้คนไทยเป็นคนรักการอ่านได้ก็คงจะดีไม่น้อย (ง่ายๆเลย ถ้าอยู่บ้านในวันหยุดแล้วคุณเลือกที่จะหยิบหนังสือมาอ่าน มากกว่าทีจะดูทีวี หรือท่องเน็ต หรือออกไปเที่ยว-แค่นี้เอง) ซึ่งมันก็คงจะถูกมองย้อนกลับไปที่ “ระบบ” ที่ดูเหมือนจะเป็นปัญหาโลกแตก เฮ้ออออ
.
.
งง กับ comment ของตัวเองมาก แต่ไหนๆก็เขียนไปแล้ว ก้ post เลยแล้วกัน อิอิอิ (เง็งๆหน่อยนะโตมร)
อ่านบทความแล้วก็เห็นด้วยนะคะ บางส่วนห้องสมุดกับร้านหนังสือไม่ต่างกันเท่าไร แต่ในบางส่วนก็ต่างกันมาก ด้วยลักษณะทางกายภาพ และบริการทั้งหลาย แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ห้องสมุดที่มีบทบาทหรือมีบริการ ทรัพยากรสารสนเทศที่ดีๆ และหลากหลายมักจะเป็นห้องสมุดมหาวิทยาลัยมากกว่าห้องสมุดประชาชน แทนที่ห้องสมุดที่ใกล้ชิดกับคนในชุมชนมากที่สุดจะมีบทบาทมากกว่าห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา เคยถามนักศึกษาว่า “เคยเข้าห้องสมุดประชาชนใกล้บ้านของตัวเองหรือไม่” ปรากฎว่ามีนักศึกษาประมาณไม่เกิน 10 คน จากนักศึกษา 80 กว่าคนเท่านั้น ที่เคยเข้าห้องสมุดประชาชน แล้วอย่างนี้จะหวังได้อย่างไร ให้เด็กอ่านหนังสือกันมากขึ้น ในเมื่อห้องสมุดใกล้บ้านยังไม่เคยเข้าไปใช้กันเลย เราต้องปรับปรุงส่วนไหนกันแน่ ห้องสมุด เด็ก การเรียนการสอน การอบรมเลี้ยงดู?????