ห้องสมุดประชาชน “ของฉัน”

วันนี้ผมขอส่งเรียงความส่งเข้าประกวดครับ เรื่อง ห้องสมุดประชาชนของฉัน

เมื่อสาย ๆ ของวันนี้ ผมอยากจะมานั่งทำงานในห้องสมุดประชาชนสักหน่อย เป็นห้องสมุดประจำจังหวัด ที่สมัยเป็นนักเรียน ผมก็มาใช้อ่าน และหาหนังสือทำรายงานเป็นประจำ เพราะอยู่ที่บ้านรู้สึกว่าสิ่งเร้ามันเยอะเหลือเกิน แล้วงานก็เร่ง ๆ อีกอย่างมันก็อยู่ใกล้บ้าน แถมผมยังเป็นศิษย์เก่า กศน. ต้นสังกัดของห้องสมุดแห่งนี้อีกต่างหาก

ความที่ไม่ได้มาหลายปี อะไร ๆ ก็ดูเปลี่ยนไปหมด ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรพื้นที่ ห้องอะไรต่าง ๆ มากมาย จำได้ว่าครั้งล่าสุดที่มา เค้ามีคอมพิวเตอร์กับอินเตอร์เน็ทให้บริการแล้ว ก่อนที่จะมาหน้านี้ยังคิดและก็บอกคนรอบตัวว่า มาครั้งนี้ เค้าน่าจะพัฒนา มี wifi ให้บริการแล้วป่าว (จริง ๆ ก็รู้อยู่แหละ ว่าหวังเว่อร์มากไป) แต่ถ้าไม่มี ก็คิดว่า แหมไหน ๆ ก็มี Internet ก็จะลงทุนซื้อ wireless router บริจาคให้เลยละกัน เพราะผมเองก็ต้องเอา laptop ไปใช้ แล้วบริจาค router ดี ๆ สักตัวให้จะเป็นอะไรไป

ตัวห้องสมุดเป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างถูกปรับให้เป็นส่วนที่รับแขก มีส่วนที่ให้บริการคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ท (เพิ่งมาแอบเห็นว่าเค้าคิดราคาชั่วโมงละ 15 บาท) แล้วก็ส่วนที่เป็นวารสาร แล้วก็จัดหนังสือโชว์ มีมุมหนังสืออ้างอิงเล็ก ๆ อยู่มุมหนึ่ง ส่วนบรรณารักษ์มีห้องกระจก เข้าใจว่ามีแอร์ แต่ยังไม่ได้เปิดใช้

สิ่งที่ดูเหมือนจะเปลี่ยนไปอีก ก็คือบรรณารักษ์ จากที่เป็นคุณผู้ชายใจดีหน่อย มาเป็นผู้หญิงรุ่นราวคราวเดียวกัน หน้าตาจิ้มลิ้มพริ้มเพรา ผมไปถึงก็เห็นเธอเดินปัดกวาดเช็ดถู เพราะห้องสมุดเพิ่งเปิดทำการ ดูท่าทางแล้ว พอที่จะเป็นบรรณารักษ์สมัยใหม่กับเค้าได้บ้าง

ผมมาถึงตอนประมาณ 10 โมงครึ่ง ก็ดูเงียบสงบดี มีคนใช้อยู่สองสามคน คอมพิวเตอร์ทุกตัวปิดหมด แล้วห้องก็เริ่มจะดูเก่าลงจากแต่ก่อนมาก ความที่ไม่ได้มาเยือนนานแล้ว ทำอะไรก็ออกจะดูเคอะเขินอยู่เหมือนกัน กลัวเข้าไปแล้วจะผิดจารีตอะไรของเค้า เนื่องจากเห็นป้ายโน่นนี่เต็มไปหมด

ในขณะที่อากาศก็ร้อนอบอ้าว แต่พัดลมไม่เปิดสักตัว ผมก็เข้าใจได้ว่า ไม่มีใครกล้ามาเปิด (จำเป็นต้องรอให้บรรณารักษ์มาเปิดให้ด้วยหรือ) ผมเองก็ยังไม่กล้าเปิดเช่นกัน

พอเข้าไปถึง ผมก็มีกระเป๋าเป้ของผมหนึ่งใบ ใส่สัมภาระมา มีพวกเอกสารแฟ้มโต laptop กล้องถ่ายรูป แล้วก็เครื่องเขียน ด้วยความที่เห็นว่า ข้างล่างคงจะมีคนเข้า ออก ถึงแม้จะไม่พลุกพล่าน แต่ก็ทำให้เสียสมาธิได้ง่ายกว่าข้างบน ก็เลยคิดว่าจะไปนั่งข้างบน พอกำลังจะขึ้นบันได เค้ามีป้ายเขียนว่า “ห้ามเอากระเป๋าขึ้นข้างบน” ผมก็ยอมเอาของออกจากกระเป๋า แล้วก็เดินถือสัมภาระขึ้นมาชั้นบน ซึ่งผมก็ถือว่าเป็นเรื่องปรกติ ที่เค้าต้องป้องกันทรัพย์สมบัติของแผ่นดิน

พอขึ้นมาข้างบน ผมก็ต้องพยายามหาที่นั่ง เนื่องจากผมต้องใช้ laptop ผมก็เดินหาปลั๊กไฟ เห็นอยู่ปลั๊กหนึ่งที่มีพัดลมตั้งพื้นเสียบเอาไว้ แต่ยังไม่ได้เปิด (ปลั๊กจริง ๆ อยู่ในห้องที่มีชื่อว่า ห้องโสตทัศน์ แต่ตัวพัดลมอยู่ข้างนอกห้อง สายระโยงออกมา) มองรอบ ๆ ก็ไม่เห็นมีอีกเลย ก็สอดส่ายสายตาอยู่พักใหญ่ เหลือไปเห็นบรรณารักษ์มาเช็ดชั้นหนังสืออยู่พอดี ก็เลยเดินไปถามว่า “ไม่ทราบว่าผมจะหาปลั๊กไฟได้ที่ไหนบ้าง ผมจะต้องใช้ laptop ทำงานนะครับ”

บรรณารักษ์หน้าจิ้มลิ้มคนนั้นมองหน้า แล้วก็ทำหน้าปนยิ้ม ปนว่า “จะใช้ได้ไง อย่างงี้ไม่เปลืองไฟห้องสมุดเหรอ”

ผมเดินหันหลังให้ ด้วยสีหน้าชา ประมาณว่า “โอ๊ย หน้าแตกจนได้” แต่มันไม่แค่นั้น เธอก็ยังพูดตามหลังกลับว่า “มันเปลืองไฟห้องสมุด” ประมาณนึง ผมก็จำคำได้ไม่ถนัด แต่ก็ดังพอที่คนใช้ อีกสองคนก็หันมาที่ผมและเธอ ผมก็ “เหรอ ใช้ไม่ได้เหรอครับ งั้นก็โอเคครับ”

ผมกลับมานั่งที่โต๊ะที่เอาของวางไว้ คิดว่าไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้ว ก็เขียนซักหน่อย แต่อดไม่ได้ที่จะต้องเขียนเล่าเรื่องให้คนอื่นฟัง เหลือบมองไปที่พัดลมตั้งพื้นเสียบอยู่ คิดในใจ “ดีแล้ว ที่ไม่ไปเปิดพัดลมไว้ก่อน ไม่งั้นอาจโดนหลายกระทง”

คือ ไม่คิดจะมาสำรวจอะไรหรอกนะครับ แต่เจอแบบนี้แล้ว จะให้รู้สึกอย่างไร คือตั้งใจมาทำงาน แต่เจอบรรณารักษ์พูดแบบนี้มาแล้ว ไอ้เรื่อง wireless ก็คงต้องลืมไปเลย…

ในระหว่างที่เขียน post นี้อยู่ ซักพักก็มีรถประกาศขายจตุคามวิ่งผ่านมา 3 คันติด โอ้แม่เจ้า!!! มันดังสนั่นเมืองจริง ๆ ใครมันจะไปทำงานได้

นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าจริง ๆ ตอนนี้ก็มีคนมาอ่านหนังสือแค่สองคน (รวมผม) ส่วนที่เหลือก็จะมีเสียงแจ้ว ๆ ของบรรณารักษ์คุยกับ คนอื่น ๆ อยู่ด้านล่างที่ได้ยินขึ้นมาถึงข้างบน

จริง ๆ เวลาที่จะเอามาเขียน post นี้ควรจะเอาไปทำงานนะ แต่ก็รู้สึกเซ็งเสียแล้ว ต้องหาที่นั่งที่อื่น ว่าแต่ผมจะไปหาห้องสมุดที่ไหนหล่ะเนี่ย มันมีที่เดียวซะด้วย แถวนี้

บทวิเคราะห์

คิดแบบนี้แล้วก็ให้นึกถึงเรื่อง the problem of purpose ที่ห้องสมุดมักจะมีปัญหาเรื่อง การตั้งจุดประสงค์ กับวิถีปฏิบัติมันไม่เป็นไปตามนั้น (อ่านเพิ่มเติม Digital Libraries and the Problem of Purpose โดย David Levy) ซึ่งในกรณีของ digital divide ห้องสมุดถือเป็นจุด public access ที่คนน่าจะเข้าถึงได้มากที่สุด นั่นหมายความว่า คนที่ไม่มีตังค์ติดกระเป๋าเลย ก็สามารถเดินเข้าไป check email ของตัวเองในห้องสมุดได้

กลับมามองที่ประเด็นแรก การที่ห้องสมุดเก็บตังค์ค่าชั่วโมงอินเตอร์เน็ท ชั่วโมงละ 15 บาท โดยตั้ง ideally ห้องสมุดก็คาดหวังว่า คนมาใช้ จะต้องมาทำรายงาน หาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ท แต่สิ่งที่เราพบเห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันก็คือ เด็กเล็ก ๆ เข้ามาใช้ห้องสมุดในฐานะร้านเกมส์ ซึ่งเป็นเหมือนกันทั่วโลก และมีงานวิจัยด้าน telecenter ก็ออกมายืนยันแล้ว ในขณะที่เดียวกันการเก็บตังค์ชั่วโมงละ 15 บาท ซึ่งดูเหมือนจะแพงกว่าราคาตลาด ออกจะดูโหดเกินไป เพราะห้องสมุดไม่ใช่องค์กรที่แสวงหาผลกำไร การเก็บเงินค่าใช้งานที่สูง ก็กลับกลายเป็นส่งเสริมให้เกิด gap มากขึ้น ถึีงแม้จะไม่ต้องให้ฟรี แต่ห้องสมุดก็เพียงแต่ subsidize บางส่วนก็น่าจะดี เพราะห้องสมุดได้งบประมาณมาจากรัฐอยู่แล้ว (ถึงจะไม่มาก แต่ก็น่าจะเป็นหน้าที่)

แต่การไม่เก็บเลย ก็จะกลายเป็นการสนับสนุนให้เด็กมาเล่นเกมส์แน่นไปหมด ส่วนคนที่ต้องการจะใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ท เพื่อการใช้งานจริง ๆ จะไม่สามารถมาใช้งานเลย??

ส่วนไอ้เรื่อง ค่าไฟ จริง ๆ เคยได้ยินมาเมื่อไม่กี่ปีก่อน ที่ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง ก็มีความคิดที่จะคิดค่าไฟใช้จากผู้ใช้ ในกรณีที่เอา laptop มาใช้งาน แต่ก็ไม่คิดว่าจะโดนเข้ากับตัวเองอย่างจัง แค่เพียงค่าไฟ ที่ห้องสมุดไม่สามารถจะรองรับการให้บริการผู้ใช้ได้ ก็อย่าไปพูดถึงเรื่องอื่นเลย เพราะค่าไฟเนี่ยมัน infrastructure ขั้นพื้นฐานสุด หรือว่าเค้ากำลังจะสนับสนุนให้คนหันมาใช้ XO กันนะ

จะว่าไป เค้าก็ยังมีส่วนดีนะที่ไม่หวงค่าน้ำ ไม่งั้นคงมีคนนั่งหน้าห้องน้ำ คิดเก็บตังค์ค่าเข้าห้องน้ำ ประมาณว่า ถ่ายเบา 3 บาท ถ่ายหนัก 5 บาท อาบน้ำ 10 บาท…

Advertisement

20 responses to “ห้องสมุดประชาชน “ของฉัน”

  1. ไม่รู้ว่า บรรณารักษ์ต้องรับผิดชอบอะไรถ้าค่าไฟสูงขึ้นด้วยหรือเปล่า เลยตอบไม่ได้ว่า ถ้าเปลืองไฟแล้วจะยังไงต่อ

    แต่คือแบบนี้ ผมรู้สึกแย่ถ้าเจออะไรแบบนี้ พูดมาหลายทีแล้วกับคนที่ทำงานบริการ รวมถึงที่ทำงานตัวเองด้วย พยายามที่จะไม่ให้มันรู้สึกว่ามีข้อจำกัดในการทำโน่นทำนี่ของผู้ใช้ เช่น ถ้าเขาทำไอ้นี่ไม่ได้ แล้วถ้าเขาต้องทำ จะให้เขาทำอย่างไร อะไรแบบนี้คนที่ทำงานบริการต้องคิดไว้ บางทีมันเป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ แต่ถ้าเราเตรียมทางออกไว้ คนมาใช้ก็รู้สึกดี การทำงานของคนให้บริการก็มีความหมาย ถ้าคิดได้แบบนี้จะรู้ว่า มีอะไรให้ทำเยอะแยะเต็มไปหมด

    เว้นเสียแต่ว่าจะไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ให้บริการ

    แต่ก็อย่างว่าครับ เดี๋ยวมันก็จะวนๆ มาอะไรเดิมๆ อีกเช่น เงินได้แค่นี้ จะให้ทำอะไรกันนักหนา

    ฮ่าๆๆ

  2. Pingback: Re: ห้องสมุดประชาชน "ของฉัน" « iTeau’s Dirt·

  3. อ่านแล้วก็นึกถึงห้องสมุดประชาชน จังหวัดตัวเองบ้าง สมัยที่เรียนได้ไปหาหนังสืออ่านอยู่บ่อยครั้งเหมือนกัน แต่ยังไม่เคยเจอเรื่องนโยบายประหยัดไฟแบบนี้แต่สิ่งที่เจอก็คือ เมื่อเดินเข้าไปในห้องสมุด
    1. กลิ่นที่ปะทะเข้ากับจมูกเต็มๆ แทนที่จะเป็นกลิ่นหนังสือเก่าหรือกลิ่นฝุ่น แต่กลับกลายเป็นกลิ่นลูกชิ้นปิ่ง ที่บอกได้ว่าราดน้ำจิ้มมาอย่างเผ็ดร้อน ((ท่าทางคงอร่อยมาก เพราะเรียกน้ำลายผู้ใช้ได้เป็นอย่างดีเลย))
    2. สิ่งที่ตามมาคือเสียง อันสดใสดังกังวาลของ บรรณารักษ์ และบุคคลอื่นๆ ที่อยู่ในเคาเตอร์ กำลังพูดคุยกันเรื่องต่างๆนานา ที่ทำให้ผู้ใช้ได้รับฟังบทสนทนาไปด้วย โดยเฉพาะเรื่อง “หวย”
    3. และสุดท้ายภาพหนังสือบนชั้นที่กระจัดกระจาย ถึงขนาดเคยไปแอบยืนช่วยเค้าจัดเก็บเข้าที่เพราะทนไม่ได้ที่เห็นสภาพแบบนั้น มันจะทำให้หนังสือเจ๊งง่ายๆเลย เพราะดูเหมือนเค้าจะไม่เคยเก็บให้มันเข้าที่เลยมั้ง

    ในปัจจุบันห้องสมุดแห่งนี้ได้ย้ายไปอยู่ตึกใหม่ สดใสกว่าเดิม แต่สิ่งที่ยังไม่เปลี่ยนก็คือบรรณารักษ์

    ((ปล. แต่เห็นพี่สาวที่ไปใช้บ่อยๆ บอกว่า บรรณารักษ์เค้าก็พูดจาดีนะ มันจะพออนุโลมกันได้มั้ย กับ3ข้อที่เล่ามา))

  4. โอวว..เห็นภาพตาม และหน้าชาตามไปด้วยเลยอะ
    ขนาดเราทำงานอยู่ในห้องสมุดทุกวัน เวลาไปใช้ห้องสมุดที่อื่น มีความรู้สึกว่า “เราเหลือตัวนิดเดียว” จะหยิบจะจับอะไรก็กลัวผิดไปหมด

  5. ผมว่าการมีห้องสมุดเป็นนโยบายงั้นๆหรือเปล่า คือจำเป็นต้องมีเพื่อให้ดูดี แต่การปฎิบัติ ธรรมเนียมบ้าบอ เวลาปิดเวลาเปิด รวมไปถึงไม่สะดวกในการใช้บริการอื่นๆ คล้ายๆกับว่ากลัวคนจะมาใช้บริการเยอะยังงั้นแหละ คนทำงานเค้าคงอยากทำงานน้อยๆ ว่างๆ มั้งครับ

  6. ประเทศอังกฤษเราจัดว่าเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
    นโยบายสมัยแรกของโทนี่ แบลร์คือ education education
    นโยบายสมัยที่สองของโทนี่ แบลร์ คือ education education education

    นี่ขนาดเค้าพัฒนาแล้วนะ ยังต้องเข้มกับเรื่องนี้

    สำหรับประเทศไทย ผมบอกให้เลยว่าใครอยากเป็นผู้นำที่อยู่ในใจประชาชน กำหนดนโยบายสองข้อที่สำคัญ คือ
    1. ทำโรงพยาบาล ให้เพียงพอ
    2. ทำโรงเรียนให้พอเพียง
    เพราะสองอย่างนี้ไม่เคยพอกับประชาชนสักที

    เราพยายามพูดถึงศูนย์กลางการเรียนรู้ที่ดี และสถานที่ๆ น่าไปเรียนรู้ ซึ่งตามที่เขียนมาอ่านดูแล้วผมคิดว่าประเทศเรายังอีกนานที่จะสร้างคนชนิดที่พอเรียกได้ว่ามีคุณภาพ
    ห้องสมุดประชาชนใกล้บ้านผมก็มีสภาพไม่ต่างกันกับที่คุณเล่ามา เพียงแต่บรรณารักษ์ใจดี อะไรก็ได้ แต่มันแคบเหลือเกิน

    ผมยังขำเมื่อขับรถผ่านห้องสมุดประชาชนที่อยู่ตรงข้ามซีคอนสแควร์ มันร้าง และผมเชื่อว่าไม่มีใครรู้ว่ามันอยู่ตรงไหน พนันกันก็ได้ร้อยนึงเอาบาทเดียว จริงๆ
    …………………..
    http://enemy222.blogrevo.com
    …………………..

  7. อยากได้กรณีศึกษา การสร้างห้้องสมุดเอกชน ทั้งแบบเก็บค่าสมาชิกและไม่เก็บ

    อยากรู้ว่า การทำห้องสมุด จะสามารถเป็นธุรกิจที่เลี้ยงตัวเองได้มั๊ย

    อยากจะลองทำดู

  8. โดยส่วนตัว ผมยังไม่เคยเห็น รายได้ที่เกิดจากการบริการล้วน สามารถหล่อเลี้ยงห้องสมุด ส่วนใหญ่จำเป็นต้องอาศัยเงินกองทุน หรือได้รับการสนับสนุนจาก sponsor แต่ถ้าจะให้เลี้ยงตัวเองได้ 100% เนี่ย คงเป็นไปได้ยาก
    อย่างไรก็ตาม เมื่อคืนก่อนโน่น ดูทีวีตอนดึก (เช้า) เห็นรายการเกี่ยวกับการประกอบอาชีพอะไรทำนองนี้ เค้าทำเรื่องเกี่ยวกับ ร้านหนังสือที่ถูกเปลี่ยนเป็นห้องสมุด เนื่องจากพอทำเป็นร้านหนังสือ แล้วไม่ประสบความสำเร็จ ผมก็ไม่แน่ใจเท่าไหร่ ว่าเค้าประสบความสำเร็จมากน้อย ก็ต้องลองดูกันต่อไป

  9. เวลานึกถึงห้องสมุด จะรู้สึกถึงแอร์ที่เปิดซะหนาว (จนเกินพอดี) มากกว่าร้อนแฮะ นี่เป็นครั้งแรกที่ได้ยินว่า ห้องสมุดร้อนนะเนี่ย :)

  10. สวัสดีค่ะ ได้บังเอิญเข้ามาอ่านเว็บนี้แล้วรู้สึกว่าได้ประโยชน์กับตัวเองมากมาย
    มีเรื่องอยากจะปรึกษา ถ้าเป็นไปได้อยากขอ e-mail address ได้ไหมค่ะ
    กรูณาส่งมาที่ haliquin@hotmail.com ด้วยค่ะ เพราะที่บริษัทฯ กำลังจะ
    ทำนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่อง resource center อยากปรึกษาเรื่องไอเดีย
    ค่ะ ว่าจะทำ content ตามนี้แล้วเพียงพอหรือไม่ และมีประโยชน์ สะท้อนมาก
    พอสำหรับผู้เข้าชมหรือไม่ ขอบคุณล่วงหน้านะคะ รบกวนด้วยค่ะ

  11. Pingback: |m Le’ chArt·

  12. แวะมาเที่ยว จากคำบอกเล่าของคุณ iTeau เมื่อกี้นี้เอง.. จากงาน “ห้องสมุด 2.0: จากแนวคิดสู่การประยุกต์ใช้จริง”

    ก็ทำให้ได้รู้ว่า แนวคิดของ lib2.0 มากขึ้น ว่าเป็นอย่างไรจากงานนี้ (จากที่ฟังเพื่อนที่อยู่นิวซีแลนด์ พูดถึงไอ้ topic นี้ ว่า hit ซะเหลือหลาย และแอบ เก ทับเราบ่อยๆ ..)

    จริงๆ ยังไม่คิดว่าจะ post อะไรวันนี้ แค่ขอมา แอบเที่ยวเล่น … แต่ อื้ม เอาซะหน่อย..

    +++++++

    การบ่นดังๆ ในเรื่อง ห้องสมุดประชาชน “ของฉัน” ของคุณ iTeau น่ารักดี และเชื่อสุดใจว่า ไม่ได้ใส่ไข่เพิ่มเติม เพื่อความมันส์แต่อย่างใด อิๆ..

    เลยได้แนวร่วม ขอบ่นดังๆ เพิ่มเติมอีก ..

    +++++++

    วันหลังว่างๆ ถ้าคุณ iTeau อยากหาที่นั่งทำงานอีกสักหน ขอแนะนำ ที่นี่..

    “ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ซอยพระนาง” เป็นห้องสมุดประชาชน ของกรุงเทพฯ
    อยู่แถวอนุสาวรีย์ชัยฯ

    (ต้องบอกตรงๆ ว่ายังไม่ได้ไป แต่มีเสียง promote มาได้พักว่า ok..ในแง่ของการปรับโฉมใหม่ ให้น่าเข้าไปใช้ เข้าไปนั่ง เข้าไปอ่าน เข้าไปค้น…)

    ยังไง ถ้าคุณ iTeau ได้ไป และมัน work หรือไม่อย่างไร กลับมาบ่นใหม่อีกครั้ง (จะดีมาก ๆ ฮับ.. )

    เข้าไป เดินเล่น ชมสถานที่ ก่อนตัดสินใจไปได้ ที่ http://www.bma.go.th/dll/
    แล้ว คลิกที่ ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้กรุงเทพมหานคร — > ห้องสมุดฯ ซอยพระนาง

    นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดประชาชนที่น่าสนใจของกทม. อื่นๆ อีก เที่ยวเล่นจากเว็บที่บอกได้ฮับ

    วันหลัง อาจกลับมาบ่นให้พวกเราฟังว่า …

    “เอ้อ … ห้องสมุดประชาชนบ้านเรา เค้าก็เริ่มพัฒนาแย้วเหมือนกันน๊า…”

    อย่างน้อย เราก็ได้ ก้าว ออก start กันสักที ..

    +++

    กรุงโรม ไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียวเน๊อะ..

    สู้ต่อไป เมืองไทย ของเรา !!

    (^_^)

  13. ขออธิบายเรื่องค่าไฟค่ะ
    ที่อื่นเป็นยังไง ไม่ทราบถึงนโยบายนะคะ เพราะดิฉันก็เป็นแค่ junior librarian
    ที่อายุการทำงานยังน้อยนิด จนไม่อาจจะเทียบกับใครๆ ได้
    แม้จะทำงานในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ แต่ก็ไม่ใช่สำนักหอสมุดกลาง
    เป็นแค่หน่วยงานขยายที่มีฐานะเป็นแค่ฝ่ายงานหนึ่งๆ ของสำนักหอสมุดกลาง
    และมีนิวาสสถานอยู่ในมหาวิทยาลัยที่อยู่ในศูนย์ต่างจังหวัด (ไม่ใช่วิทยาเขตด้วยซ้ำ)
    ถ้าถามความคับข้องใจ มีเยอะค่ะ แต่คงไม่เกี่ยวกับประเด็นนี้

    ถ้าจะพูดเรื่องค่าไฟ คงต้องบอกว่า
    เราจะมีสถิติค่าไฟและค่าโทรศัพท์ขึ้นกระดานทุกเดือน
    เพื่อให้บุคลากรทราบว่า ค่าไฟเดือนนี้สูงกว่าเดือนที่แล้วนะ และให้หาคำตอบกันเองว่า
    มันเป็นเพราะอะไร เพราะเดือนก่อนปิดเทอม เลยเปิดให้บริการในระยะเวลาสั้นกว่า
    และไม่ได้เปิดเคาน์เตอร์บริการทุกชั้น หรือเพราะเดือนนี้มันเป็นหน้าร้อน เลยแพงกว่าเดือนที่เป็นหน้าหนาว ก็สุดแท้แต่จะคิดกันไป แต่ที่รู้ก็คือ ในที่ประชุมผู้บริหาร
    เมื่อค่าไฟแพง หัวหน้าของเราก็จะถูกบ่นว่าจากท่านผู้อำนวยการ

    สถานการณ์เช่นนี้มันบอกอะไรได้ไหมคะ

    ดิฉันรักและชื่นชมในตัวหัวหน้าของดิฉัน ไม่อยากให้ถูกบ่นว่าด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่อง (ก็คงเพราะรักเลยลำเอียงแหละค่ะ) บางทีเราก็ต้องประหยัดด้วยการปิดแอร์ในส่วนที่บุคลากรนั่งทำงานอยู่เป็นสิบ แต่เปิดแอร์ในชั้นบริการที่มีผู้ใช้แค่ 2-3 คน เจ้าหน้าที่ก็ร้อนเป็นนะคะ แต่ทำอะไรไม่ได้ เพราะไม่อยากให้ค่าไฟแพง

    แต่เราไม่เคยห้ามผู้ใช้นะคะ จะเอาโน้ตบุ๊คมาเสียบไฟก็ได้ เรายอมให้ เพราะถือว่าจำเป็น
    แต่เรื่องชาร์ตโทรศัพท์มือถือ อันนี้ยอมไม่ได้จริงๆ ค่ะ ^__^

  14. คุณ rainwindy ครับ ขอบคุณมากสำหรับ link ของห้องสมุดฯ ซอยพระนาง ผมก็เคยได้ยินชื่อเหมือนกัน แต่ก็ไม่มีโอกาสได้แวะไปซักที ตอนนี้ก็กลับมาอยู่ต่างจังหวัดแล้ว

    จริง ๆ แล้วหวังว่า post นี้ คงไม่ทำให้ใครหลาย ๆ คน มองผมว่าเป็นพวก pessimism ในงานห้องสมุดบ้านเรา จริง ๆ แล้วมีอะไรที่ดี ๆ หลายอย่าง ที่เราไม่เคยพูดถึงกัน นี่แหละครับ ผมคนเดียว คงไม่สามารถจะบอกว่าอะไรดี ไม่ดี ทั้งนี้มันก็ขึ้นอยู่กับว่า ใครมองอย่างไร

    อาจจะเป็นผมคนเดียวก็ได้ ที่มองว่า การไม่ให้ใช้เครื่อง laptop เพราะเปลืองไฟเป็นเรื่องแปลก เพราะหลังจากที่ Post นี้ออกไป ก็มีคนหลายคน พยายามจะแก้ต่างให้กับเจ้าหน้าที่คนนี้พอสมควร

    สำหรับคุณ amosuke เรื่องแรงกดดันจากผู้บริหารนี้ เป็นเรื่องสูตร ที่ใครต่อใครก็โดนมาทั้งนั้น อย่างไรก็ตาม เรื่องค่าไฟนี้ ก็ต้องดูเป็นเรื่อง ๆ ไป ผู้บริหารจะไปเหมารวมก็คงจะไม่ได้ เช่น เปิดแอร์เสียจน คนเข้าใช้ต้องพกเสื้อ jacket มาด้วย อันนี้ก็คงจะไม่ไหว หรือการออกแบบห้องน้ำ ที่ทำห้องเสียมืด จนต้องเปิดไฟทั้งวันทั้งคืน หรือ วัน ๆ หนึ่งมีอัตราการใช้เครื่อง computer เพียง 5 concurrent users แต่เปิดเครื่องทิ้งไว้ซะ 10 เครื่อง เหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่ ผู้บริหารจะต้องไปช่วยคิด ไม่ใช่จะโยนภาระความผิดให้กับลูกน้องแต่เพียงท่าเดียว

    หรือจริง ๆ แล้วไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่อัตราค่าไฟที่มันแปรผัน ทำให้ตัวเลขมันสูงขึ้นจนผิดหูผิดตา และแน่นอนว่า ถึงแม้มันจะมีผลในระดับจุลภาค แต่ระดับมหภาคที่มีส่วนเราไม่สามารถควบคุมมันได้

    แล้วจะทำยังไงที่เราจะเอาเรื่องแบบนี้ไปพูดกับผู้บริหารได้ ก็แน่นอนต้องอาศัยหลักฐาน “ข้อมูล”

    ถ้าเป็นเรื่องแรก ผู้บริหารเค้าเตือนมาก็คงจะไม่ว่าอะไร แต่ถ้าเป็นประเด็นที่สองหล่ะ ถ้าคุณเป็นผู้บริหารจะทำอย่างไร

  15. วันนี้ผมก็ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ซอยพระนาง มานะคับ ที่ห้องสมุดนี้มีความแตกต่างกับห้องสมุดประชาชนโดยทั่วไปตั้งแต่ภาพลักษณ์ใหม่ของห้องสมุด ที่ดูโมเดิลขึ้นและมีความคล้ายคลึงกับห้องสมุดประชาชนในต่างประเทศ ที่ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ซอยพระนางนั้น มีการแบ่งส่วนการใช้บริการที่ค่อนข้างหลากหลาย โดยรวมเมื่อเข้าไปแล้วเหมือนไปพักผ่อนมากกว่าห้องสมุดโดยทั่วไป มีห้องสับหรับเด็กเล็ก อายุไม่เกินแปดขวบ (ห้องนี้ผมก้อได้ไปนั่งเล่นมากะเพื่อนๆตอนดูงานแหะๆ สนุกมากก) มีมุมวารสารหนังสือพิมพ์ซึ่งมีวารสารเล่มปัจจุบันและเล่มก่อนหน้า ให้บริการอยู่ มีทั้งวารสารที่เป็นสารคดี และบันเทิงคดี มีมุมให้บริการอินเตอร์เน็ต ใช้ได้คนละครึ่งช.ม. (เด็กใช้เยอะเสียงดังคับ แต่เจ้าหน้าที่จะมีวิธีเตือนจะเครื่องเซฟเวอร์ เด็กๆก้อจะเงียบเสียงทันที เพราะกลัวว่าจะไม่ได้เล่นอินเตอร์เน็ต) มีหนังสือทั่วไป ในชั้นที่สอง มีการแบ่งหมวดหมู่แบบดิวอี้ ซึ่งเหมาะสมกับห้องสมุดขนาดเล็ก ห้องหนึ่งผมชอบมาก อยากหใมทุกที่เลย คือห้องทำการบ้าน ผมจำไม่ค่อยได้ว่าชื่อภาษาอังกฤษคืออะไรนะ ห้าๆ ต่อไปในชั้นที่สามก้อจะมีหนังสือประเภท นวนิยาย วรรณกรรมสำหรับเดก(ชั้นนี้ชอบมาก) และมีห้องโฮมเทียร์เตอร์ ไว้ให้เด็กๆน้องๆได้ดูหนังกัน โดยมีตารางการฉายหนังที่แน่นอน อ๋อเกือบลืมชั้นหนึ่งไปอีกส่วนหนึ่ง ที่นี่จะมีการสันับสนุนโครงการหลวงดอยคำ ซอยเป็นโครงการในพระราชดำริ ช่วยให้เกษตรกรไดมีรายได้ (ใครว่างๆก็ช่วยกันเข้าไปอุหนุนนะคับช่วยชาติๆ) นอกจากส่วนบริการต่างๆภายในห้องสมุดที่เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปแล้ว ยังมีกิจกรรมที่จัดไปค่ายกันอีกซึ่งถ้าจำไม่ผิดจะจัดปีละหกครั้ง เป็นกิจกรรมสำหรับเด็กๆได้ไปเรียนรู้ อ่าสเกือบลืมส่วนสำคัญค่าสมัครสมาชิกนั้น สี่สิบห้าบาท สำหรับผู้ใหญ่ เด็กยี่สิบห้าบาท ค่าบำรุงรายปี หักจากค่าสมัคร ผู้ใหญ่สิบบาท เด็ก ห้าบาม ถ้าออกจากสมาชิกห้องสมุดจะได้ค่าสมัครคืน คือ สี่สิบบาท และ ยี่สิบบาทตามลำดับ และโครงการห้องสมุดดีๆเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าขาดผู้ว่าราชการจังหวัดคนปัจจุบัน นายอภิรักษ์ โกษโยธิน ซึ่งเห็นความสำคัญของการศึกษา และพี่ๆบรรณารักษณ์ทุกๆคนที่ช่วยกันทำงานพัฒนาสังคมเช่นนี้ต่อไป ถึงแม้จะเหนื่อย เงินเดินจะน้อย ก็อยากจะขอให้กำลังใจพี่ๆทุกคนว่า สิ่งที่พี่ทำอยู่ทุกวัน ถึงแม้บางครั้งจะน่าเบื่อ จะต้องท้อใจกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ก็ขอให้พี่นึกถึงเวลาที่เด็กคนหนึ่งมาใช้บริการที่ห้องสมุดแล้วเดินกลับบ้านไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะมันคงจะชื่นใจดีใช่มั๊ยครับ

  16. สวัสดีครับคุณพี่

    เขียนดีมากเลยครับ
    อ่านแล้วทำให้ได้แง่คิดนะเนี่ย

    เขียนมาแบบนี้รู้ทันทีเลยว่าที่ไหน 555..
    (จำได้)

  17. Pingback: ห้องสมุดกับการแสวงหากำไร « iTeau’s Dirt·

  18. ผมไม่ทราบว่า ณ ที่นี้มีใครสนใจอยากทำห้องสมุดบ้าง ผมกำลังทำ แต่หาสถานที่ไม่ได้ เลยทำเป็นห้องสมุดดิจิตอลบนเว็บไซต์ ที่ทำอยู่ คือสารานุกรม และพจนานุกรม

    http://www.todaystep.com/wiki/
    http://www.todaystep.com/dicwiki/

    อยากหาคนร่วมอุดมการณ์ และผู้้สนใจ รวมกลุ่มกันทำ

    อรรถพงศ์
    mr_attapong@hotmail.com

  19. Pingback: ห้องสมุดกับการแสวงหากำไร | Dekkid·

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s