ก่อนอื่นก็ขอขอบคุณทุกคนนะครับ ที่ไปในงานเมื่อวานนี้ และอีกหลายคนที่สนใจ เมื่อวานก็โดนแซว ตำหนิ ติเตียนหลายเรื่องเหมือนกัน ผิดประมาทพลาดพลั้งอะไรยังไง ผมก็ต้องขออภัยมาตรงนี้เลยละกันครับ แต่ท้ายที่สุดหวังว่า อย่างน้อยคนที่ได้ฟังกลับไปเมื่อวานนี้ หลายท่านคงมีความคิดอะไรผุดขึ้นมาบ้าง หรือแม้แต่เพียงเพิ่มความสงสัย เพื่อที่จะำนำไปค้นคว้าด้วยตัวเองต่อได้ ผมก็ถือว่า อย่าง “น้อย” ก็ได้อะไรกลับไป
ส่วน presentation ทั้งของผมแล้วก็ของเลอชาติ ก็ Post อยู่บนเว็บไซต์ของ TCDC Resource Center เรียบร้อยแล้วนะครับ
จริง ๆ มีเรื่องเยอะแยะมากมายอยากจะเล่าแล้วก็ demo ไปด้วย แต่เนื่องจากเตรียม Presentation ไว้ 2 ชั่วโมง เหลือประมาณชั่วโมงครึ่ง แล้วแต่ละแนวคิดย่อย ๆ สามารถพูดได้เป็นวัน ๆ เพราะฉะนั้นก็เลยต้องเต้น hip-hop อย่างที่หลายคนแอบแซว แต่ก็นั่นแหละครับ อาจจะเป็น style ผมด้วย ส่วนหนึ่ง แหะ ๆ ยังไงก็ติชมกันได้เลยครับ ผมจะได้นำไปปรับปรุงต่อไป…
สำหรับคนที่ไม่ได้ไป ก็ขอเล่าคร่าว ๆ แล้วกันนะครับ ถ้าจะให้เล่ารายละเอียดทั้งหมด ก็คงจะไม่ไหว ผมรับผิดชอบในช่วงเช้่า โดยพูดเกี่ยวกับแนวคิด 2.0 ในภาพกว้าง ที่มาที่ไป แล้วการนำเอาแนวคิดดังกล่าวมาใช้ให้เกิดขึ้นจริง
คร่าว ๆ ผมก็ดึงเอา The Long Tail มาเป็นเท้าความถึงแรงผลักดันด้านเศรษฐกิจ ที่ปัจจุบัน จำเป็นจะต้องให้ความสำคัญ กับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมน้อยด้วย เช่นกันกับสินค้าสุดฮิต และใช้ทฤษฎี Social Capital มาเป็นทัพเสริมทางด้านสังคมศาสตร์ เพื่อที่จะชี้ให้เห็นว่า เทคโนโลยีสามารถเข้ามามีบทบาทต่อการสร้าง social capital ของคนเราได้ (ปล. จนปัจจุบันก็ยังหาคำไทยของคำว่า social capital ไม่ได้ ใครทราบรบกวนหน่อยนะครับ) หลังจากนั้นแนวคิดการให้บริการในแนวเทคโนโลยี web 2.0 จึงผุดขึ้น และโลกห้องสมุดก็เห็นประโยชน์ในการที่จะนำมาปรับใช้ด้วยเช่นเดียวกัน
คนที่เรียกขาน “ห้องสมุด 2.0” เป็นคนแรก ก็คือ Michael Casey ซึ่งเขียนไว้บน blog ของเค้า LibraryCrunch เมื่อเดือนกันยายน 2005 และแนวคิดดังกล่าวก็ถูกนำมา promote อย่างต่อเนื่องโดยบริษัท ที่ปรึกษาด้านห้องสมุดของอังกฤษ ที่ชื่อ Talis โดยมีหัวเรือใหญ่ชื่อ Paul Miller เป็นตัวตั้งตัวตี และหลัง ๆ ก็มีนักวิชาการห้องสมุดก็เริ่มให้ความสนใจ อย่างไรก็ตามการใช้คำว่า ห้องสมุด 2.0 หรือ library 2.0 ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันถึงความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นเนื่องจากมันไม่ใช่แนวคิดใหม่อะไรในวงวิชาการ หรือแม้กระทั่งว่าไม่สามารถให้คำนิยามที่ชัดเจนได้ โดยเฉพาะนักวิชาการบางคน ก็ไม่ใคร่สนใจกับแนวคิดเลยด้วยซ้ำ เนื่องจากเห็นว่าจะเป็นแนวคิดฉาบฉวย แฟชั่น ไม่ยั่งยืน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผู้ที่สนใจในแนวคิดนี้ เห็นพ้องต้องกัน คือ แนวคิดห้องสมุด 2.0 เป็นการผนวกปรัชญาการบริหารห้องสมุดเข้ากับการจัดการเทคโนโลยี web 2.0 ดังนั้นคำสำคัญของแนวคิดนี้ คือ คำว่า “mashup” ที่การให้บริการห้องสมุดออนไลน์กลาย เป็นการบูรณาการ (เอ่อ ไม่อยากจะใช้คำนี้ แต่ไม่รู้ว่าจะใช้คำอื่นว่าอะไร) แหล่งสารสนเทศจากหลายแหล่งเข้าด้วยกัน (แหล่งในที่นี้ รวมไปถึงแหล่งสารสนเทศที่เป็นตัวบุคคลด้วย ผ่าน social networking)
จริง ๆ แล้ว (มีคนแอบแซวว่า ผมพูดคำว่า “จริง ๆ แล้ว” เยอะมาก คงเห็นจะจริง แหะ ๆ) แนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องยากที่จะคาดถึง เนื่องจากธรรมชาติของห้องสมุด ก็เป็นพื้นที่สาธารณะ เป็นที่พบปะกัน และสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้ด้วยกันเอง หรือแม้กระทั่งระหว่างผู้ใช้กับผู้ให้บริการ ดังนั้นการพัฒนาบริการห้องสมุดออนไลน์ให้นอกเหนือไปจากการเป็นแหล่งให้ค้นหนังสือเท่านั้น
องค์ประกอบที่สำคัญของแนวคิดห้องสมุด 2.0 ก็คือ เจ้ากลุ่มเทคโนโลยี web 2.0 เนี่ยแหละ (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ web 2.0 ที่ blog ของ Tim O’Reilly นะครับ) ดังนั้นผมก็เลยสรุปแนวคิดการให้บริการที่สำคัญ ๆ ซึ่งก็ได้แก่ User-Generated Content (เป็นเรื่องในทำนองเดียวกันกับ The Wisdom of Crowd, Collective Intelligence, Citizen Journalism, Open Content), Bookmarking and Recommendation System ที่สามารถแบ่งปันข้อมูลร่วมกันได้, Social Networking ที่มีทั้งเป็นอยู่ในรูป instant messenger และ profile based application ที่เริ่มมาตั้งแต่ profile ของตัวเอง ว่าประวัติของเราเป็นอย่างไร มีความสัมพันธ์กับใคร ไปจนถึง Profile ของสัตว์เลี้ยง (อย่างหมา แมว) ข้าวของ (เช่น ตุ๊กตาบาร์บี้) ที่เราสามารถแบ่งปันข้อมูลกันได้ เพื่อหา “แนวร่วม” หรือคนที่มีความสนใจร่วมกัน
ข้างของที่ว่า ก็รวมไปถึงหนังสือด้วย ซึ่ง LibraryThing กับ Bookjetty (ผมเคยเขียนถึงไว้ เมื่อไม่นานมานี้) ก็เป็นตัวอย่าง application ที่น่าสนใจ ที่ใช้แนวคิดเดียวกัน ในการรวมพลคนรักหนังสือ และใช้ application ต่าง ๆ เพื่อสร้างชุมชนของคนที่รัก สนใจหนังสือคอเดียวกัน หรือแม้กระทั่งเล่มเดียวกัน
นอกจากนี้เทคโนโลยี web 2.0 ยังรวมไปถึงความสำคัญของ folksonomy ที่ผู้ใช้สามารถกำหนดคำสำคัญ (tag) ของ object ต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง โดยการแสดงผลในภาพรวมมักจะแสดงผลในรูปของ Tag Cloud
นอกจากนี้ยังมีตัว virtual reality game อย่าง second life ที่ทำให้คนสามารถเข้าไปหาเพื่อน พูดคุย ได้ผ่านเกมส์ในรูปแบบ 3 มิติ แต่กลุ่มสุดท้าย คือ กลุ่ม aggregator ซึ่งเป็น application ที่รวมรวบ content ที่เราสนใจเข้าไว้ด้วยกันด้วยเทคโนโลยี RSS (Really Simple Syndication) ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการ ก็ได้แก่ Bloglines, Google Reader และ Technorati
การนำแนวคิดเหล่านี้มาใช้ หลัก ๆ ก็ทำได้ 2 รูปแบบ ได้แก่
- การนำแนวคิดไปใช้โดยตรง เช่น การพัฒนา extension เพื่อให้ผู้ใช้ tag หนังสือได้โดยตรงจาก Library Catalog (ตัวอย่าง: PennTags)
- การใช้เทคโนโลยี web 2.0 ที่ให้บริการอยู่ในอินเตอร์เน็ตมาใช้ เช่น การใช้ Flickr โดยเปิด accountของห้องสมุด, การสร้าง group ใน Flickr เพื่อสร้าง digital collection ที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย/องค์กร หรือการ link authority record ของ Library Catalog กับ Wikipedia เป็นต้น (ตัวอย่าง: Picture Australia, Biz Wiki ของห้องสมุด Ohio University)
นอกจากนี้ผมก็ได้เน้นในเรื่องการใช้ Blog เพื่อใช้ในห้องสมุด โดยอ้าง guideline จาก Fichter (2003) ที่เฉพาะเจาะจงกับการไปใช้เพื่อการตลาด ซึ่งประกอบไปด้วย
- Promote Library Events
- Support Your Dedicated Users
- Engage Your Community
- Support Your Community
- Building New Ties
นอกจากนี้แนวคิดห้องสมุด 2.0 ก็สามารถเอามาผนวกกับ Trend ของการปรับปรุงระบบสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศยุคใหม่ ซึ่งมีต้นแบบมาจาก Library Catalog ของ NC State University ที่พัฒนาร่วมกับ Endeca ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาเว็บไซต์ชั้นนำ function และกำลังเป็นที่จับตามอง และเป็นต้นแบบให้กับห้องสมุดหลายแห่ง (ซึ่งรวมถึง TCDC ด้วย) และเชื่อได้ว่า เหล่าบรรดา vendor ก็จะหันมาพัฒนา library catalog ในรูปแบบนี้มากขึ้น หลัก ๆ ของการพัฒนาที่ถือว่าเป็นนวัตกรรมของการพัฒนา library catalog ก็ได้แก่
- การใช้ประโยชน์ของหมวดหมู่มาใช้ให้เป็นประโยชน์ (สามารถ Browse หนังสือ ตามหมวดหมู่ต่าง ๆ ได้บนเว็บ)
- การใช้ประโยชน์ของ Subject Heading ในการ Refine ผลการค้น (สามารถบ่งจำนวนหนังสือในหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องได้, แตก LCSH เพื่อสามารถใช้ประโยชน์ของ subfield ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ)
- การจำนวนผลการค้นให้แสดงผลเฉพาะ หนังสือที่ Available ในห้องสมุด (ไม่ได้ถูกยืมออก) เท่านั้น
- ใช้ Dictionary เพื่อช่วยเหลือในการป้อนคำค้น เวลาพิมพ์ผิด หรือไม่ค้นพบผลการค้น
- การแปลงผลการค้นให้อยู่ในรูป RSS เพื่อที่ผู้ใช้สามารถเก็บผลการค้นแล้วติดตามรายการใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นมาได้
- การเพิ่มระบบ Recommendation ในหน้า item (“more titles like this”)
- ฯลฯ
ท้ายที่สุด ผม (โดยส่วนตัว) ก็ลองวิเคราะห์ถึงความท้าทายและอุปสรรค ในการนำแนวคิดมาใช้ในบริบทของไทยเรา ซึ่งหลัก ๆ ผมเห็นว่ามี stakeholders อยู่ 4 กลุ่ม
กลุ่มแรก คือ ผู้ใช้เอง ที่นอกเหนือจากข้อคำนึงถึงด้านปริมาณผู้ใช้อินเตอร์เน็ท “เพื่อการศึกษาหาความรู้ ข้อมูล” แล้ว ข้อคำนึงถึงเชิงคุณภาพก็ไม่ควรมองข้ามด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะเรื่อง ทักษะการรู้สารสนเทศและอินเตอร์เน็ต
กลุ่มที่สอง คือ ตัวบุคลากรห้องสมุด ซึ่งผมถือว่า เป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญมากที่สุด ในการริเริ่ม สำคัญอยู่ที่ว่าบุคลากร ต้องเปิดใจมากขึ้น ว่าต่อไป ผู้ใช้ไม่ได้เป็นเพียงผู้เข้าถึงข้อมูลเท่านั้น แต่ต่อจากนี้ไป ผู้ใช้จะกลายเป็นผู้ผลิตข้อมูล ความรู้ นั่นหมายถึง เราจะต้องให้กุญแจแห่งการควบคุม ที่เราเคยถือครองอยู่ออกไป นอกจากนี้เนื่องจากแนวคิด ห้องสมุด 2.0 คือ แนวคิดในการสร้าง และส่งเสริมชุมชนแห่งการแบ่งปันความคิดเห็น ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร บุคลากรจึงมีบทบาทสำคัญที่สุด ในการที่จะ promote ให้ผู้ใช้เข้ามาใช้บริการเหล่านี้ (ก็อย่างที่บอกกับผู้เข้าฟัง เมื่อวานนี้ว่า ผมหวังว่า อย่างน้อยคงจะเห็น blog ของบรรณารักษ์และห้องสมุดเยอะมากขึ้น)
กลุ่มที่สาม คือ เครือข่ายห้องสมุด แนวคิดห้องสมุด 2.0 จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ ก็ต่อเมื่อนำไปขยายต่อและเชื่อมกันระหว่างเครือข่ายห้องสมุด และในที่สุดก็จะทำให้ชุมชน weak ties เหล่านี้มีพลังขึ้นมา
กลุ่มสุดท้าย คือ กลุ่มผู้บริหาร ซึ่งถือเป็นกลุ่ม classic อีกกลุ่มหนึ่ง ที่ท้ายที่สุดแล้ว idea จะกลายเป็นความจริงได้ คนกลุ่มนี้ก็ถือว่าเป็นคนที่มีกุญแจอยู่ในมือด้วยเช่นกัน หากไม่เข้าใจในแนวคิดและบทบาทในเรื่องนี้แล้ว ก็ยากที่จะให้การสนับสนุนด้วยเช่นกัน.. (เอ่อ นี่ขนาดคร่าว ๆ นะนี่… จริง ๆ ถ้ามีคนช่วย live blogging ก็จะดีมากเลยครับ)
ส่วนช่วงบ่าย เลอชาติเค้าก็มาพูดประสบการณ์ในการพัฒนาเว็บไซต์ของ TCDC Resource Center ตัวใหม่ ที่นำเอาแนวคิดห้องสมุด 2.0 และการ renovate library catalog ห้องสมุดมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น
- ระบบสืบค้นหนังสือ ที่เอาต้นแบบมาจาก NCSU มาใช้ โดยเฉพาะในเรื่อง
- การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของหมวดหมู่และหัวเรื่องในการ refine ผลการค้น และการ browse ผลการค้น
- การใช้ dictionary
- การ sort ผลการค้นโดยเรียงตามความนิยม (จากสถิติการใช้บริการทั้งหมดของห้องสมุด)
- การแสดงหน้าปกหนังสือ (ทั้งปกหน้า ปกหลัง ปกด้านใน)
- การแสดงตำแหน่งหนังสือบนชั้นในห้องสมุด
- สามารถ customize เขตข้อมูลในหน้าผลการค้นได้
- การใช้ระบบ tag
- ผู้ใช้สามารถ review หรือ rate หนังสือได้โดยตรง และสามารถอ่าน review หรือ rating ของผู้เชียวชาญ
- การนำแนวคิด Wikipedia มาใช้ในการพัฒนา Pathfinder (Subject Guide)
- การสร้าง Widget ที่ผู้ใช้สามารถเห็น profile
- การสร้างหน้า profile ของตัวเอง
- การ add feed ที่สนใจได้
- ระบบ recommend ในหน้า item detail (Related items, การเชื่อมโยงกับ pathfinder ที่หนังสือเล่มนั้นไปปรากฏอยู่)
- ฯลฯ
ไม่แน่ใจว่า เลอชาติเค้าจะมาเขียนในรายละเอียดให้อ่านบน blog เค้าหรือเปล่า ลองติดตามดู ยังไงเสียก็ดูจาก presentation ของเค้าไปก่อนนะครับ
ทีนี้สำหรับใครที่ยังมีคำถาม ไม่เข้าใจ หรืออยากจะแลกเปลี่ยน แนะนำ ติชม ก็เขียน comment บน Post นี้ได้ครับ ยินดีต้อนรับทุกความเห็นเลยครับ
ปล. สำหรับคนแถว ๆ อีสานที่พลาดโอกาส แล้วอยากมาแลกเปลี่ยนนะครับ ผมกับเลอชาติจะไปที่ ม.ขอนแก่นช่วงกลางเดือนหน้า (กรกฎาคม) ส่วนกำหนดการที่ชัดเจนจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งครับ
อ่านแล้วก็คิดไปว่า เมืองไทยมีบรรณารักษณ์ที่มีความรู้ความเข้าใจแบบพี่ ประมาณกี่คน น่าจะสนับสนุนให้ไปเรียนเยอะๆ นะ แล้วก็ทำยังไงจะให้กลุ่มผู้บริหารที่กุมอำนาจ เออออสนับสนุนการมีห้องสมุดและบรรณารักษณ์ที่ผนวกเอาเทคโนโลยีและความรู้เข้าด้วยกัน
น่าจะจัดอบรมหรือwork shop เรื่องนี้เยอะๆนะ
ขอบคุณที่เล่าให้ฟังค่ะ
คนที่มีความรู้และความเข้าใจมีเยอะครับ แต่ไม่มีโอกาสที่จะแสดงฝีมือ ต้องสร้างพื้นที่ สร้างเวทีให้คนเหล่านี้ได้ใช้ความสามารถกันอย่างเต็มที่
yo!!
social capital เนี่ย ใช้คำว่า “ทุนทางสังคม” จะได้ไม๊นะ
ขอบคุณที่ย่อยเรื่องที่พูดอีกรอบนึงนะคะ
เขียนตอบแล้วครับ
Pingback: |m Le’ chArt·
มีคนเล่าให้ฟังครับว่าพูดดี ได้ความรู้เพิ่ม ความจริงผมก็เพิ่งรู้จักไอ้ web 2.0 ได้ไม่นาน รู้จักแบบผิวเผินหน่ะครับ พูดได้ดีอย่างนี้แววอาจารย์Ph.D เริ่มออกแล้วกระมังครับ :)
** ถึงจะเร็วไปนิด แต่ ดูจากท่าทางประกอบแล้วของคุณ iTeau แล้ว ก็ทำให้ลด
ความตึงเครียด น่าฟัง และเพลิดเพลินมากขึ้นค่ะ ^__^
****
ยังไม่ได้อ่าน ละเอียดเลย เดี๋ยวขอดูก่อนว่า มีบอกชื่อหนังสือต่างๆ ที่แนะนำไว้วันนั้น
หรือป่าว เพราะวันนั้น มันเร็วจน จดกันไม่ทันค่ะ
ขอบคุณนะค๊า .. : )
ขอบคุณค่ะ
พี่ห่างหายจากวงการห้องสมุดไปนาน เนื่องจากกระแสของระบบ และเรื่องของคน ตอนนี้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง ดีใจที่ที่ได้มาพบกับสิ่งที่ดีๆซึ่งจะมีผู้บริหารซักกี่คนที่มองเห็น ขอบคุณจริงๆค่ะ
great man! this s great project Teau and Ball. have a nice presentation trip der.
ciao
social capital = ทุนทางสังคม ครับ
Pingback: Seminars at KKU and RSU « iTeau’s Dirt·
Pingback: Clarifications on library 2.0 seminar « iTeau’s Dirt·