กลับมานั่งพลิกไป พลิกมาใน Tipping point เจอ quote เด็ด เลยเอามาฝากกัน (ต่อเนื่องจากงานเมื่อวาน) โดยเฉพาะคนที่ยังไม่เข้าใจว่า ทำไมการสร้างสายสัมพันธ์ทางสังคม (social) จึงมีความสำคัญต่อคนทำงานด้านสารสนเทศ
“It’s possible that Connectors learn about new information by an entirely random process, that because they know so many people they get access to new things wherever they pop up. If you look closely at social epidemics, however, it becomes clear that just as there are people we rely upon to connect us with new information. There are people specialists, and there are information specialists.”
ในบทที่ 2 Gladwell พยายามบรรยายให้เห็นความสำคัญของคนที่เป็น connector ซึ่งเป็นคนที่รู้จักคนเยอะมาก การรู้จักคนมาก ถือได้ว่าเป็นคนที่มีทักษะ และถือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคน ในขณะเดียวกันก็สามารถเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศด้วยเช่นกัน เพราะการรู้จักคนเยอะ นั่งหมายความว่า เค้ามีโอกาสที่จะได้พอเจอกับข้อมูล สารสนเทศใหม่ ๆ โดยไม่ได้ตั้งใจมากกว่า
แต่กระนั้น มันก็ยังไม่จริงเสมอไป…
คุณทรงพันธ์,
ขอบคุณที่นำหนังสือเล่มนี้มาแนะนำ. ปัจจุบัน The Tipping Point มีแปลเป็นภาษาไทยแล้ว ชื่อ “จุดชนวนคิด พลิกสถานการณ์”. ซึ่งผู้ที่สนใจ หากได้อ่านเนื้อหาทั้งหมด ก็จะเข้าใจความสัมพันธ์อย่างที่ว่า.
น่าสนใจก็คือ ในชีวิตประจำวันของเรา มีใครเป็น Connector บ้าง, และ Connector คนที่ว่านี้ สร้างผลกระทบอย่างไรกับเรา. คนๆ นี้ เป็นผู้ที่รู้ข้อมูลสารสนเทศอย่างถูกต้อง แม่นยำ..จริงหรือเปล่า. หรือไม่จำเป็น? เข้าใจว่า, ถ้า Connector มีคุณภาพ Network หรือผลต่อเนื่องที่เกิดขึ้นก็น่าจะมีคุณภาพ.
แล้วพบกันใหม่ครับ,
Chadej
ขอบคุณคุณ Chadej ที่มาบอกเล่มแปลค่ะ
จะได้ตามไปอ่าน อิๆ