กลายเป็น Talk of the town อย่างสุด ๆ ตอนนี้ สำหรับวิดีโอบน Youtube ที่ชื่อ Battle at Kruger ที่ตอนนี้ (ณ ที่ผมเขียนอยู่) ถูกชมไปแล้วกว่า 11 ล้านครั้ง และมี comment กว่า 12,000 ข้อความแล้ว และก็เพิ่มขึ้นไปอย่างไม่มีทีท่าว่าจะตกลง นอกจากนี้ถูกนำไปวิจารณ์จากสื่อหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น Time, BBC หรือ Guardian และแน่นอน ก็ต้องติด top video ของ Technorati อย่างไม่ต้องสงสัย
ล่าสุดก็ถูกนำไปออกในรายการ i-CAUGHT ช่อง abc เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (เสียดายที่ไม่สามารถเอารูป หรือวิดีโอมาลงบน blog ได้ เพราะติดลิขสิทธิ์ของเจ้าของวิดีโอ ที่เข้าเขียนดักไว้อย่างจัง ไม่ใคร่กล้าจะเอามาลอง – ถึงจะเอามาลง ก็เป็นของ Youtube คนส่วนใหญ่ก็ยังดูไม่ได้อยูดี เมื่อไหร่จะเลิกก็ไม่รู้ เราก็ทนให้เค้าปิดหู ปิดตาก็ไปได้เนอะ – ยังไง ก็ตาม link ไปดูกันเอาเองนะครับ ผมไม่แน่ใจว่าดูได้หรือเปล่านะ ถ้าไม่ได้ลองช่วยกันหาหน่อย ว่ามีจากแหล่งอื่นหรือเปล่า)
วิิดีโอความยาวแปดนาทีครึ่ง เป็นคลิปที่เก็บภาพ การต่อสู้ระหว่าง สิงโตผู้องอาจ จระเข้เจ้าเล่ห์ และฝูงควาย เพื่อจะแย่งเอาชีวิตของลูกควายตัวหนึ่ง ที่ตกเป็นเหยื่อของผู้ล่าทั้งสอง ซึ่งถ่ายไว้โดย นักท่องเที่ยวชาวอเมริกัน ชื่อ Dave Budzinski ขณะนั่งอยู่บนรถซาฟารี ในอุทยานแห่งชาติ Kruger ประเทศอาฟริกาใต้ เมื่อเดือนกันยายน 2004
จริง ๆ วิดีโอนี้ upload มาตั้งแต่เมื่อเดือนพฤษภาคมปีนี้ จนเมื่อ Chad Hurley หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Youtube ได้ให้สัมภาษณ์กับ CNN (ออกอากาศเมื่อ 8 มิถุนา ที่ผ่านมา) ว่าเป็น clip ที่ชอบมากที่สุด ก็เล่นทำเอา video ได้รับความนิยมแบบ exponential กันเลยทีเดียว
ปรากฏการณ์นี้ ไม่เพียงแต่ทำให้ คนถ่ายวิดีโอ และเจ้าของลิขสิทธิ์อย่าง negativespace มีชื่อเสียง แต่ผมว่า อย่างน้อย ก็ทำให้ชื่อ Kruger เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง และก็กลายเป็นเป้าหมายของนักท่องเที่ยวจำนวนมาก อย่างไม่ต้องสงสัย
ปรกติ ผมก็ไม่ใช่เป็นคนชอบดูหนังสารคดี แนวชีวิตสัตว์โลกมากเท่าไหร่ โดยเฉพาะสัตว์ป่า ที่มีการล่า อะไรเทือกนี้ แต่คราวนี้ ถึงจะดูไปแล้วก็ลุ้นไป แต่ตอนจบก็ให้ความรู้สึกดี (เหมือนดูละครน้ำเน่าที่มี happy ending ทั้ง ๆ ที่ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า นี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอหรือไม่)
สิ่งที่ผมรู้สึกชอบเป็นการส่วนตัว ปรกติ ควาย ถูกนำไปเปรียบกับ ความโง่เขลา อยู่เสมอ ๆ ถึงแม้ว่าตัวจะใหญ่ แต่ก็ดูเชื่องช้า แต่เมื่อถึงเวลาที่คับขัน จากวิดีโอนี้ ก็จะเห็นว่า ควายก็รู้จักใช้ต้นทุนทางสังคมของมัน สร้างพลัง the power of the crowd (คิดดู มันยังวกมาเรื่องหลักการ อีกจนได้ -_-“) เพื่อแก้ไขสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี แถมเป็นฝ่ายเอาชัยชนะมาอย่างที่เรียกว่า ได้ใจคนดูมาก
มีอีกสิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกว่า น่าสังเกต คือ พฤติกรรมของควายผู้นำ จะเห็นได้ว่า ในระหว่างที่ฝูงควายเดินเข้าไป เพื่อจะช่วยเจ้าลูกควายผู้โชคร้ายนั้น ไม่ใช่ว่าทุกตัวจะเดินถลาเข้าไป โดยเฉพาะตัวที่อยู่ข้างหน้า บางตัวพอใกล้ ๆ จะถึงก็ป๊อดเหมือนกัน เดินหนีออกไป จนต้องมีตัวใด ตัวหนึ่งหาญกล้า วิ่งผ่าน comfort zone ของตัวไป เมื่อนั้นเอง ความกล้าของทั้งฝูงก็ปะทุเต็มที่
อืม… คนกับควายก็ไม่ต่างกัน ด้วยเหตุนี้ประการหนึ่ง
ตื่นตาตื่นใจ
ดูใน dailymotion ^^
thanks. It is really fascinating.
เพิ่งผ่านมาเห็นบล็อกนี้ เลยตามไปดูลิงค์นั้นใน youtube … ตื่นเต้นไปด้วยจริงๆ (ดูช้าไปหน่อย ดีกว่าไม่ได้ดูเลย) ขอบคุณนะคะที่เอามาเเชร์กัน
Pingback: Diffusion of responsibility « iTeau’s Dirt·