เมื่อปลายปีที่แล้ว ห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน (LC) ได้จัดตั้งคณะทำงานชุดพิเศษขึ้น เพื่อศึกษาและเสนอะแนะแนวทาง ของการควบคุมรายการบรรณานุกรม ในอนาคต โดยรวบรวมนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านบรรณารักษศาสตร์ และสารสนเทศศาสตร์จากทั่วประเทศ
ล่าสุด ฉบับร่างรายงานผลการศึกษา ก็ออกมาแล้ว และขณะนี้ก็เปิดรับข้อคิดเห็นจากสาธารณะ ภายในวันที่ 15 ธันวาคมนี้
ผมก็ยังไม่มีเวลาได้อ่านเท่าไหร่ แต่เท่าที่ดูคร่าว ๆ หัวใจหลัก ๆ ของรายงานฉบับนี้ มีอยู่ 5 ประเด็น ได้แก่
- เพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างรายการบรรณานุกรม
- ขยายโอกาสในการการเข้าถึงวัสดุสารสนเทศที่หายากและมีเอกลักษณ์
- การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่ออนาคต
- ข้อพิจารณาด้านชุมชน
- สร้างความเข้มแข็งให้กับวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
ถึงแม้จะเป็นรายงานเฉพาะเพื่อ LC เท่านั้น แต่ก็ต้องยอมรับว่า LC มีอิทธิพลต่อการควบคุมรายการบรรณานุกรม ต่อวงการบรรณรักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ทั่วโลกอย่างมาก เพราะฉะนั้น ทิศทางและแนวโน้มของ LC ในอนาคต ก็มีผลต่อชุมชน (ซึ่งจริง ๆ ก็คือ วงการบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ทั่วโลก) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
จากที่อ่านดูคร่าว ๆ แล้ว ก็ต้องบอกว่า ไม่ได้ทำให้ตาลุกวาวแต่อย่างใด แต่รู้สึกใจชึ้นขึ้นมาหน่อย ที่รายงานฉบับนี้ เห็นความสำคัญของความเป็นสากลมากขึ้น จริงอยู่ที่บางครั้ง เรา (ในฐานะประเทศไทย) ก็ไม่ต้องการ dependency จากคนอื่นทั่งหมด แต่ถ้าพิจารณาในมุมมองของมาตรฐาน ก็ต้องยอมรับว่า LC เป็นผู้นำและเป็นผู้ควบคุมมาตรฐานเหล่านี้ ถ้า LC หันมาสนใจ มาตรฐานในเชิงสากล
แต่กระนั้น ก็ดูว่า ประเด็นที่กล่าวในรายงาน (รวมถึงเรื่อง ความเป็นสากล) ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพียงแต่เป็นประเด็นที่ยังคั่งค้างที่ควรจะทำ แต่ยังไม่ได้ทำ ก็เลยต้องมาสะสาง และเรียงลำดับความสำคัญว่าจะทำอะไรก่อนหลัง ทั้งนีประเด็นสำคัญ มันอยู่ตรงที่เทคโนโลยี ทั้งในเชิงเทคนิค แนวคิดการบริหารจัดการ ตลอดจน (ชุมชน) ผู้ใช้ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากช่วงที่เริ่มต้นไปมาก การที่ต้อง maintain ข้อมูลจำนวนมากมายมหาศาล ทำให้การพัฒนาเดินไปได้ช้า กว่าตัวเทคโนโลยี เลยทำให้ LC มีงานที่ต้องสะสางเยอะมาก
บ่นไป บ่นมา ก็อยากแค่จะบอกว่า อยากให้อ่าน แล้วช่วยกันแสดงความคิดเห็น อาจจะทำในนามบุคคล หรือกลุ่มบุคคล (หรือแม้กระทั่งอย่าง สมาคมห้องสมุดฯ จะรับผิดชอบไป) ผมก็เห็นว่า น่าจะช่วยทำให้เกิดการพูดคุย ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับ การควบคุมรายการบรรณานุกรมในบ้านเรามากขึ้น (ที่นอกเหนือไปจาก เรื่อง เครือข่าย)
Pingback: เสียงสะท้อนจาก LC « iTeau’s Dirt·