ในทางบรรณารักษศาสตร์ การศึกษาผู้ใช้ ครอบคลุมถึง การศึกษาผู้ไม่ใช้ด้วยเช่นกัน กล่าวคือ นอกจากจะทำให้คนที่ใช้อยู่มีความพึงพอใจสูงสุด เราก็จะต้องศึกษาเช่นเดียวกันว่า ทำไมคนที่ไม่ใช้ถึงไม่ใช้ เพื่อจะทำให้คนเหล่านี้กลายมาเป็นผู้ใช้ ในขณะที่ปัจจุบัน การศึกษาคนที่ไม่ใช้อินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ ก็กลายเป็นตัวชี้วัดสำคัญตัวหนึ่งของการช่องว่างทางดิจิตอล
มีรายงานการสำรวจล่าสุดของ Park Associates เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ว่า 20% ของหัวหน้าครอบครัวในอเมริกาไม่เคยใช้อีเมล์ เปิดเว็บไซต์และค้นข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต ในขณะที่ 30% ของหัวหน้าครอบครัวไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างเอกสาร โดยชี้ว่าเพศและอายุเป็นปัจจัยสำคัญที่ำให้เกิดช่องว่างทางดิจิตอลในลักษณะนี้ [ที่มา: CNET News)
ความรู้สึกแรกที่เห็นข้อมูลก็ค่อนข้างแปลกใจ ประการแรก คือ จำนวนของคนที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างเอกสาร สูงกว่าคนที่ไม่เคยใช้อีเมล์หรือเปิดเว็บไซต์ ซึ่งแตกต่างจากสมมติฐานส่วนตัวที่เห็นกลับกันว่า อัตราส่วนของคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างเอกสาร น่าจะมากกว่าอัตราส่วนของคนที่ใช้อินเตอร์เน็ต เนื่องจากเห็นว่า
- คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือพื้นฐาน ที่ใช้ในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ถึงแม้ว่าโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รุ่นใหม่ ส่วนมากจะสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ก็ตาม แต่คอมพิวเตอร์ก็ยังเป็นเครื่องมือหลักอยู่ดี
- การสร้างเอกสาร สามารถทำงานได้ off-line ในขณะที่การใช้อินเตอร์เน็ตนั้น จำเป็นต้องใช้เครือข่าย ซึ่งคนที่มีคอมพิวเตอร์ทุกคน ส่วนใหญ่ไม่ต้องมีอินเตอร์เน็ตก็ได้ แต่คนที่ใช้อินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่น่าจะต้องมีคอมพิวเตอร์
- ระบบประมวลผลคำ ถูกพัฒนาขึ้นก่อน ระบบอินเตอร์เน็ต คนใช้คอมพิวเตอร์ น่าจะมีความคุ้นเคยกับ ระบบประมวลผลคำ มากกว่าเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
- Mental model ของการใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างเอกสาร กับอินเตอร์เน็ต มีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตที่มีมิติของเครือข่ายเข้ามาร่วมด้วย ดังนั้นความคุ้นเคยและความซับซ้อนของ mental model น่าจะมีผลต่อการใช้งาน
- ถ้าตีความอย่างนักจัดการเอกสาร การส่งและรับอีเมล์ ก็ถือเป็น “การสร้างเอกสาร” อย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น เมื่อคน 80% บอกว่าเคยรับส่งอีเมล์ แต่มีเพียง 70% ที่บอกว่าเคยสร้างเอกสารบนคอมพิวเตอร์ ก็ออกจะแปลกไปหน่อย (ผมไม่เชื่อว่า ผลต่าง 10% จะมาจากคนที่ส่งอีเมล์ผ่านอุปกรณ์รับส่งประเภทอื่น เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ โดยที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์เลย) ดัง Venn diagram แบบง่าย ๆ ข้างล่างนี้
อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อมูลออกมาในลักษณะนี้ และหากเชื่อว่าข้อมูลที่ออกมา สามารถนำมาใช้กล่าวสรุป (Generalize) ถึงคนอเมริกันได้จริง ก็ต้องลองกลับสมการ และดูว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่น่าจะทำให้อัตราส่วนของคนใช้อินเตอร์เน็ตมีมากกว่าคนใช้คอมพิวเตอร์สร้างเอกสาร ซึ่งเท่าที่ผมพอจะนึกออกได้ ก็มีอยู่ 2 ประการสำคัญ ๆ คือ utility กับ usability
ประเด็นเรื่อง utility ก็เห็นว่าสามารถแตกออกได้เป็นอีก 2 มิติ มิติแรก คือ เมื่ิอเปรียบเทียบความมีประโยชน์ระหว่างการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสร้างเอกสาร และการใช้อินเตอร์เน็ตนั้น ดูเหมือนว่าจะอยู่กันคนละสเกลกัน กล่าวคือ การสร้างเอกสาร เป็นเพียง”วัตถุประสงค์” หนึ่งของการใช้คอมพิวเตอร์ ในขณะที่อินเตอร์เน็ตในที่นี้ ถูกจำกัดความให้เป็น “เครื่องมือ” หรือ “พื้นที่” ซึ่งเทียบเท่าได้กับคอมพิวเตอร์ ที่สามารถตอบสนอง “วัตถุประสงค์” ได้มากกว่าการสร้างเอกสาร ดังนั้น หากจะมาเปรียบเทียบ ก็คงไม่สามารถเปรียบเทียบกันโดยตรงได้ (มิตินี้ อาจจะอ่อนไปหน่อย เพราะจริง ๆ แล้วในแบบสอบถามก็จำแนกวัตถุประสงค์การใช้งานอยู่แล้ว แต่ถึงกระนั้นก็ดูเหมือนว่าจะเป็นคนละขั้นอยู่ดี นอกจากนี้ตัวเลข 21% ที่เหมือนกันทั้งหมด ก็ดูจะน่าสงสัยอยู่เหมือนกัน)
มิติที่สองนั้น มีส่วนสืบเนื่องจากมิติแรก กล่าวคือ วัตถุประสงค์และความจำเป็นของ “เอกสาร” เอกสาร นั้นมีขอบเขตแคบกว่า “อินเตอร์เน็ต” คำว่า “เอกสาร” คำเดียว ก็มีความหมายในหลายนัยยะ (แนะนำอ่านเพิ่มเติม What is a document? โดย Micheal Buckland) แต่ในบริบทนี้ การสร้างเอกสาร ค่อนข้างจะมีความหมายไปในเชิงจริงจังเพียงด้านเดียว ยกตัวอย่างเช่น การสร้างเอกสารติดต่อทางราชการ เอกสารทางธุรกิจ เอกสารทางกฏหมาย หรือแม้กระทั่งเอกสารส่วนบุคคล ซึ่งถึงแม้ว่าเอกสารจะมีความสำคัญในเชิงหลักฐานก็จริง แต่กิจกรรม “การสร้างเอกสาร” หาใช่เป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนจะต้องทำ ยกตัวอย่างที่ชัดที่สุด ก็คงจะเป็น ผู้บริหารกับเลขานุการ เป็นต้น
ในขณะที่วัตถุประสงค์ของการใช้อินเตอร์เน็ต นั้นขอบเขตกว้างขวาง ตั้งแต่เพื่อความบันเทิง การเรียน การทำงาน การติดต่อสื่อสาร และแน่นอนรวมไปถึง “การสร้างเอกสาร” ด้วยเช่นกัน ดังนั้นความครอบคลุมของอินเตอร์เน็ต จึงมีมากกว่าอย่างหลีกเลี่ยงมิได้
คิดนอกกรอบ
แต่ถึงกระนั้น ผมก็ยังคิดว่า คนเราทุกคนอย่างน้อย ต้องเคยสร้างเอกสารในชีวิตนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนจดหมาย การทำบัญชีรายรับรายจ่ายประจำวัน ด้วยเหตุนี้ ก็เลยสงสัยต่อว่า แล้ว 30% ที่บอกว่าไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างเอกสารนั้น เคยสร้างเอกสารหรือไม่ ถ้าสร้าง ใช้อะไร (เช่น มือ พิมพ์ดีด เป็นต้น)
ถ้าใครสนใจ คำถามงานทำนองนี้ ให้ลองหางานวิจัยด้าน Personal Information Management (PIM) มาอ่านดูครับ ว่าแล้ว เดี๋ยวก็คงจะไปลองหามาอ่านดูบ้าง
ปล. เอกสารที่นี้ ผมหมายถึง textual document นะครับ ไม่รวมรูป ภาพ เพลง ภาพเคลื่อนไหว สื่อประสมอื่น ๆ
ประการที่สอง มีผมคิดว่าน่าจะมีส่วน คือ ความง่ายในการใช้งาน (usability) ถึงแม้ว่าคนจะดูคุ้นเคยกับการใช้ระบบประมวลผลคำมากกว่า (เพราะเกิดก่อน? -_-“) แต่การใช้งานอินเตอร์เน็ตนั้นดูง่ายกว่าการสร้างเอกสารมาก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะการออกแบบ interface ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ cognitive load มาก จะเห็นได้ว่า email application กับ browser มีปุ่มทำงานน้อยกว่า ในขณะที่ word processor นั้นมีสิ่งที่ต้องกำหนดมากมาย และต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบ
อย่างไรก็ตาม ทั้งหลายทั้งปวง ข้อมูลชุดนี้ ก็อาจจะต้องฟังหูไว้หู (อาจจะต้องไปดูรายงานฉบับเต็มอีกที) เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสำรวจทางโทรศัพท์นั้น มาจากหัวหน้าครอบครัวเพียงอย่างเดียว
สำหรับคนที่สนใจเรื่องผู้ใช้อินเตอร์เน็ต แนะนำให้ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก Pew Internet [ตัวอย่าง] และ Interconnections ซึ่งอันหลังนี้เป็นรายงานผลการวิจัยเกี่ยวกับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต และแหล่งข้อมูลอื่น ๆ สำรวจเมื่อปี 2006 ที่เพิ่งเขียนเสร็จสิ้นไปเมื่อเร็ว ๆ นี้
ผมอ่านแล้วรู้สึกว่า ที่อีเมลเยอะกว่า เป็นเพราะ networked effect หรือเปล่า? (ต้องส่งหาพ่อแม่พี่น้องคนรู้จัก)
mk: that’s also a good point. However, if the networked effect can explain the higher proportion of email user, the proportion of email users should also outnumber the other two activities on the Internet that networked effect should have less explanatory power. In this case, they are all equally 21%. It may be that networked effect has nothing (or some part) to do with the proportion of users, but the frequency of use (e.g. the number of email sent/received).
สวัสดีค่ะ
ขอร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยคนค่ะ
ประเด็นว่า Internet เป็นเพียงเครื่องมือหรือพื้นที่นั้น ชัดเจนอยู่นะคะ เพราะดูจาก items ในแบบสอบถามทั้ง 4 ข้อ จะพยายามเน้น functions ที่เขาคิดว่าเป็น basic functions of IT หรือประมาณ IT literacy นะคะ
ส่วนข้อสังเกตเกี่ยวกับอายุว่า wordprocessors เำกิดก่อนนั้น ก็เป็นประเด็นหนึ่ง แต่ขอเสนอว่า น่าจะคิดถึง ubiquity ด้วยค่ะ หรืออาจเรียกว่า การที่อินเทอร์เน็ตเผยแพร่อย่างรวดเร็ว หากย้อนกลับไป wordprocessor ระยะแรกจะค่อนข้างจำกัดการใช้งานอยู่ที่สำนักงาน หน่วยงานมากกว่า households ขณะที่ Internet ได้เข้ามาสู่ชีวิตประจำวันได้รวดเร็วกว่า และยังผนวกรวมกับสารพัด electronic gadgets ทำให้ pervasiveness มากกว่า
ต่อมา เนื่องจากไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับ household heads ที่เขาสำรวจว่า มี demographic profile อย่างไร โดยเฉพาะ อายุ, SES ทำให้เห็นภาพคนเหล่านี้ได้ยากเหมือนกันค่ะ เพราะการผลิตเอกสารอาจสัมพันธ์กับการใช้ชีวิตประจำวันของเขาหรือไม่
เป็น brainteasers ละกันนะคะ ช่วยกันแตกแขนงหน่อยค่ะ
สมพร