NC Science Blogging Conference

Published by

on

พอพูดงาน YouFest เสร็จก็เข้านอนเลย ตื่นเช้ามาก็ไปงาน North Carolina Science Blogging Conference ต่อทั้งวัน คนเข้าฟังประมาณ 120 คน น่าจะได้ มีตั้งแต่ นักวิทยาศาสตร์ นักการศึกษา นักเรียน เต็มไปหมด โต้โผใหญ่ของงาน ก็มาจากกลุ่ม blogger ใน ScienceBlogs ซึ่งเป็น project ของนิตยสาร Seed ที่รวมนักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยที่เป็น Blogger หลาย ๆ คนมาเขียน (อ่านเพิ่มเติม About ScienceBlogs)

Science Blogging 101

Session แรก ก็เป็นการแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับ Science Blogs ที่น่าสนใจ โดย Bora Zivkovic บอกว่า บล๊อกที่มีคนอ่านเยอะ ส่วนใหญ่จะเป็นบล๊อกของผู้ที่มีความเชื่ยวชาญ (expert) ในเรื่องนั้น ๆ แล้วก็แนะนำ blog ที่น่าสนใจหลายอัน ถ้าใครสนใจอยากหามาอ่าน ว่า science blogger เค้าเขียนเกี่ยวกับอะไรกัน ลองเข้าไปดูที่เว็บของ conference มีรายชื่อของบล๊อกที่น่าสนใจเต็มไปหมด มีตั้งแต่ที่เป็น commentary ทั่วไป จนถึงบันทึกการทำแล๊บจากห้องทดลอง

อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ ปีนี้เป็นครั้งแรก ที่มีการรวบรวม และคัดเลือกเรื่องที่ดีที่สุดแห่งปี บนบล๊อกวิทยาศาสตร์ แล้วก็ตีพิมพ์เป็นรูปเล่ม ชื่อหนังสือ The Open Laboratory (จะว่าไป ถ้าเราลองทำแบบเดียวกันกับ บล๊อกภาษาไทย -ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ แต่เป็นเรื่องที่ดีที่สุดของไทยบน blogophere – มาตีพิมพ์ จะมีคนซื้ออ่านมั๊ยนะ ว่าไปแล้วก็อยากลองทำเหมือนกันแฮะ อยากน้อย ก็เป็นการบอกให้คนทั่วไปที่ไม่มีอินเตอร์เน็ทรู้ว่า ยังมีอีกทางเลือกหนึ่งในการบริโภคข้อมูล ข่าวสารนะ หรือว่ามีใครลองแล้วหรือยังหว่า) นอกจากนี้ยังมีเรื่อง Blog Carnival ที่ชุมชนแนะนำ post เฉพาะเรื่องที่ตัวเองและชุมชนสนใจ

ส่งเสริมความเข้าใจในวิทยาศาสตร์ให้กับสาธารณะ

คนต่อมา Huntington F. Willard เป็น ศาสตราจารย์ด้าน Genome จาก Duke มาพูดถึงเรื่อง การสร้างความเข้าใจเรื่องวิทยาศาสตร์ให้กับสาธารณะ หลัก ๆ เค้าก็มาเล่าว่า การสื่อสารกับสาธารณะในเชิงวิทยาศาสตร์ มีข้อคำนึงถึงหรือความท้าทายอย่างไร

Dr.Willard บอกว่า เป้าหมายของการสื่อสารของนักวิทยาศาสตร์ต่อสาธารณะ มี 2 ส่วน ส่วนแรก คือ การอธิบายให้คนเข้าใจวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการอธิบายแบบเพียว ๆ หรือจะเป็นการชี้ให้เห็นว่า มันมีผลกระทบ หรือมี implication อย่างไร ส่วนที่สอง คือ การพยายามให้คนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในวิทยาศาสตร์ ปัญหาก็คือ คนรับสาร มีตั้งแต่คนที่ไม่ได้ให้ความสนใจ ไปจนถึงพวกที่สนใจวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง ถึงกระนั้น คนทั่วไปก็มองวิทยาศาสตร์ ต่างจากนักวิทยาศาสตร์

ประเด็นต่อมา ก็คือ ในการสื่อสารรูปแบบเดิม นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถควบคุมว่า ประเด็นไหนจะถูกนำไปพูดถึงบนสื่อ ปัญหาสำคัญคือ มันถูกตีความไปคนละแบบ อย่างเช่น Dr.Willard เล่าว่า เค้าเคยถูกสัมภาษณ์จากคอลัมน์นิสต์ของ New York Time เกี่ยวกับความแตกต่างของยีนส์ ระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง แต่พอเอาเรื่องไปตีพิมพ์กลับกลายเป็นว่า คนเขียนสรุปว่า ผู้หญิงดีกว่าผู้ชาย เพราะยีนที่ดีกว่า อะไรทำนองนี้ ซึ่งในงานวิทยาศาสตร์ไม่ได้พูดไว้แบบนี้

นอกจากนี้ การสื่อสารกับสาธารณะ ยังเป็นเรื่องท้าทายธรรมชาติการสื่อสารของนักวิทยาศาสตร์ กล่าวคือ ถ้าเปรียบเทียบกับการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์แบบทางการ นักวิทยาศาสตร์ต้องการ outcome ที่คาดเดาได้ ต้องอาศัยข้อมูลเป็นพื้นฐาน นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์เอาใจใส่ในงานเขียนมาก ถึงมากที่สุด ใช้เวลาในการเลือกใช้คำ แก้ไขข้อผิดพลาด เพราะป้องกันการตีความที่ผิดพลาด และประเด็นสุดท้าย ก็คือ นักวิทยาศาสตร์ต้องแยกข้อเท็จจริงออกจากการตีความ ส่วนที่เป็นข้อมูล ก็คือ ข้อมูล ในขณะที่ส่วนมัน matter ก็คือ การตีความ ซึ่งต้องใช้ความระมัดระวังในการตีความอย่างรอบคอบ ซึ่งประเด็นหลังเนี่ย มีหลายเสียงเห็นแย้งว่า งานเขียน blog ของตัวเอง เป็น informed commentary มากกว่าที่จะเป็นการเขียนเล่าข่าวแบบลอย ๆ ที่คนพูดเข้าใจ

สำคัญที่ว่าคนพูดแกไม่ได้เป็น blogger ผมว่าแกยังมองไม่เห็นภาพในบทบาทของ blogger ชัดเจน อย่างเช่น ดูเหมือนว่า แกมองว่า blogger ก็เป็นพวกเดียวกับ media release ซึ่งจริง ๆ แล้วมันก็ไม่ใช่ เพราะ การสื่อสารมันไม่เป็นสองขั้วระหว่างนักวิทยาศาสตร์ กับสื่ออีกต่อไปแล้ว แต่มันมีขั้วที่สาม ที่สามารถคอมเม้นต์และเปรียบเทียบ ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ กับรายงานการวิจัยที่ปรากฏใน media release ได้ นอกจากนี้ก็มีคนเสริมว่า บล๊อกจะช่วยให้สาธารณะมีส่วนร่วม และเข้าถึงวิทยาศาสตร์มากขึ้น เนื่องจากเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับคนที่ไม่สามารถเข้าถึงวิทยาศาสตร์ ผ่านการสื่อสารทางวิชาการในรูปแบบเดิมได้ โดยเฉพาะด้วยสาเหตุทางด้านเศรษฐกิจ

ผจญภัยไปกับการบล๊อกทางวิทยาศาสตร์

Dr.Janet Stemwedel หรืออีกชื่อหนึง Dr.Freeride (อ่านประวัติแล้วแบบ เอ่อ.. จบ ป.เอก สองใบ ตอนสองอาทิตย์ก่อนจะ defense ปริญญาเอก ใบแรกด้านเคมี ก็ไปสอบ GRE เพื่อจะสมัครเรียนต่อ ป.เอก สายปรัชญา ตอนนี้จบแล้ว มาสอนปรัชญาอยู่ Stanford) มาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับชุมชนของ science blogger แล้วมี converstaion แบบไหนบ้าง ที่ science blogger พูดถึงกัน และหาอ่านได้ยากในการสื่อสารทางวิชาการ ไม่ว่าจะเป็น ประเด็นด้านการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ การเมืองและนโยบาย การพูดถึงงานวิจัยอื่น ๆ แบบ jounal club การประชุมออนไลน์ การเล่าถึงชีวิตนักวิทยาศาสตร์ รายงานการประชุม วิธีปฏิบัติในวงการวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

มีหลาย quote ที่น่าสนใจเช่น “Community and communications key ingredients for human flourishing”หรืออย่าง วิทยาศาสตร์คือกระบวนการ ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ แล้วก็แนะนำให้อ่านหนังสือ ชื่อ Science as Social Knowledge ของ H.E. Longino

Dr.Janet เปรียบเทียบการบล๊อกกับการพูดคุยผ่านการประชุมทางวิชาการ (ที่ดูว่าทั้งสองแบบเป็น informal เหมือนกัน) ว่า การสนทนา (conversation) บนบล๊อกดีกว่าตรงที่มันอยู่ได้นานกว่า less ephemeral แล้วสามารถอ้างอิงได้ มากกว่าการพูดคุย ผ่านแล้ว ผ่านเลย อ้างอิงลำบากกว่า

อย่างไรก็ตาม blogger ในสายวิทยาศาสตร์หลายคนก็ใช้ชื่อปลอมในการเขียน ซึ่ง Terrell ก็ตั้งคำถามว่า ในเมื่อการบล๊อกในสายวิทยาศาสตร์ จำเป็นที่จะต้องอาศัยความเชื่อถือ แล้วทำไมต้องใช้ชื่อปลอม ซึ่งหลายคนก็ให้ความเห็นว่า เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดกับชีวิต แต่มีความเห็นหนึ่งที่ผมว่าน่าสนใจ เข้าใจว่าเค้าเฺป็น blogger คนหนึ่ง เค้าพยายามจะบอกว่า ผู้ชายไม่เข้าใจหรอก ว่าผู้หญิงมีเรื่องที่ต้องปิดบังมากน้อยแค่ไหน เพราะฉะนั้นเค้าเชื่อว่า ผู้หญิงน่าจะใช้ชื่อปลอมในอินเตอร์เน็ทมากกว่าผู้ชาย …

สองช่วงหลังเป็น Breakout session ผมเข้าฟังสองอัน คือ Open Source/Notebook Science กับ Emerging Nanotechnologies

Open Source/Notebook Science

Jean-Claude Bradley จาก Drexel ก็มาเล่าถึงโครงการ Useful Chemistry ซึ่งเป็นการใช้ Wiki กับ Blog ในการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการคิดค้นสูตรเคมี

ข้อมูลที่นำเสนอ มีตั้งแต่ข้อมูลดิบจากการทดลอง ข้อมูลที่วิเคราะห์แล้ว สมมติฐาน การทดลองที่ล้มเหลว ผลการวิจัยที่เป็นผลและสามารถนำไปใช้ได้ รวมไปถึงบทความทางวิชาการ

ปัญหาที่ต้องคำนึงถึง ก็ได้แก่ ทรัพย์สินทางปัญญา การอ้างอิง ความน่าเชื่อถือทางวิชาการ และกระบวนการ Peer-reviewed ซึ่งนอกจากนี้ยังมีคนให้ความเห็นเกี่ยวกับ ประเด็นเรื่อง ความปลอดภัยของข้อมูล และความเสถียรของงาน ซึ่ง Jean-Claude บอกว่า เวลาทำงานก็ให้เก็บทั้งสองรูปแบบ คือ ทั้ง blog และ wiki ในขณะที่ผมก็ค่อนข้างจะ concern เกี่ยวกับการอ้างอิงมากกว่า เพราะถ้าหากในวันข้างหน้า host provider เค้าเจ๊ง หรือเราต้องย้าย server แล้ว link มันจะไม่ valid คนอื่นที่ link มาหาเราจะมีปัญหามากกว่า ในขณะที่ข้อมูลเนี่ย ยังไงมันก็น่าจะเก็บ local version ได้อยู่แล้ว แล้วก็ backup ได้ไม่ยาก

อีกประเด็นหนึ่งที่คนถาม ก็คือ การทำ Open แบบนี้ อาจจะทำให้คนทำงานตัดหน้าเราไปได้ ซึ่งอันนี้ก็พูดคุยกันว่า มันน่าจะอยู่ที่ custom ของชุมชนนั้นเอง หลายคนบอกว่า case แบบนี้อาจเกิดได้น้อย แต่จริง ๆ แล้วมันก็เคยเกิดขึ้นแล้ว ล่าสุดก็เมื่อสองปีก่อนใน New York Times ซึ่งเป็นประเด็นของการค้นพบดาวดวงหนึ่งของนักวิทยาศาสตร์ในอเมริกา แต่ดูเหมือนโดนตัดหน้าไปจากนักดาราศาสตร์จากสเปน ซึ่งมันก็เป็นไปได้ แต่ถ้ามองในมุมของวิทยาศาสตร์สายอื่น ซึ่งการอ้างอิงน่าจะถือเป็น custom ที่น่าจะรับได้ หมายถึง ถ้าเราเอาข้อมูลที่เค้า open ไว้มาใช้ ก็ควรจะติดต่อเค้าก่อน แล้วก็ acknowledge เค้าในงาน ก็น่าจะเพียงพอแล้ว

Emerging Nanotechnologies

session นี้ไม่มีอะไรเลย คน present ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ blogger แต่เป็นคนมาจากพิพิธภัณฑ์ แล้วประมาณว่าเล่าเรื่องนาโนให้ฟัง เพื่อจะให้ blogger ช่วยคิดหน่อยว่า จะทำยังไงให้คนตระหนักถึงเทคโนโลยีที่มันจะเข้ามา ผมฟังได้ซักพัก mode การรับรู้ก็เริ่มหยุดทำงาน เพราะมันไกลจากหัวข้อ conference จนดึงกลับมาไม่ถูก Break out session นี้คนส่วนใหญ่จะไปอยู่ที่ Teaching Science กันหมด ซึ่งเป็นการพูดถึงการใช้ Blog มาประกอบการเรียนการสอน

ก็เป็นอันหมดหนึ่งวัน ผมสรุปประเด็นที่ผมเห็นว่าน่าสนใจเท่านั้นะครับ จริง ๆ ในแต่ละหัวข้อก็มีประเด็นอื่น ๆ อีกมาก มีหลายคนมากที่ Liveblogging อย่างเช่น Paul Jones และ Christina’s LIS Rant

7 ตอบกลับไปที่ “NC Science Blogging Conference”

  1. mk Avatar

    อ่านแล้วปิ๊งไอเดีย ถ้ามีคนทำเซิร์ฟเวอร์ที่
    1.) รับประกันว่า link จะอยู่คงทน ไม่ล่มไม่หนีไม่หาย อันนี้แก้เรื่อง permalink
    2.) revision ถูกเก็บตลอด ไม่มีทางลบได้ (เหมือนของ wikipedia) น่าจะช่วยให้การวิจัยแบบ open มีหลักฐานว่าใครเขียนก่อน (อาจจะคิดทีหลังก็ได้) ซึ่งมันอาจช่วยให้เกิดการแข่งขันวิจัย?

  2. alwayslek Avatar

    Great!! Thank you very much. This is what I’m looking for.

  3. gooogolf Avatar
    gooogolf

    เห็นร้านหนังสือมีแต่เอา diary มารวมเล่มขาย

    เปิดมาเห็นมีแต่กลอน -L-”

    เพื่อ?

    ว้าวววว! พิมพ์นิยม มีคนแอบชมซะล่วย

  4. bact' Avatar

    http://researchers.in.th/ ไหวไหม ?

  5. iTeau Avatar

    อืม researchers.in.th น่าสนใจแฮะ มี อ.หลายคนที่ผมสนใจงานของท่านอยู่พอดี ขอบคุณนะครับ

  6. […] persistence ของ blog เมื่อครั้งไปงาน NC Science Blogging Conference […]

  7. […] And a liveblog in Thai from Iteau. sciencebloggingconference […]

ใส่ความเห็น