folksonomy รูปภาพและห้องสมุด

Published by

on

ล่าสุด Flickr ร่วมมือกับห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Thanks Terrell for bringing this to my attention!) นำรูปใน collection ต่าง ๆ มาเก็บไว้บน Flickr เพื่อให้คนใช้ช่วยกัน tag รูป ผ่านโครงการที่ชื่อว่า The Commons (อ่านเพิ่มเติม: ประกาศของ LC กับ Flickr)

บนประกาศของ LC ก็เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายหลัก ได้แก่

“how to ensure better and better access to our collections, and how to ensure that we have the best possible information about those collections for the benefit of researchers and posterity.”

“ทำให้การเข้าถึงทรัพยากรเหล่านี้ดียิ่งขึ้น และทำให้มีข้อมูลที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เกี่ยวกับทรัพยากรเหล่านี้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักวิจัย และความเจริญก้าวหน้าต่อไป” (แปลโดยผู้เขียน)

LC มีทรัพยากรสารสนเทศประเภทรูปภาพ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของสิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่น ๆ กว่า 14 ล้านชิ้น คนที่ทำงานด้าน catalog คงทราบดีว่า การลงรายการบรรณานุกรม ของทรัพยากรประเภทนี้มีความท้าทายมากน้อยเพียงใด แค่เพียงการพิจารณาหาหัวเรื่อง รายชิ้น ก็เป็นอันถอดปลั๊กได้เลย (ยังไม่ต้องลงรายละเอียดที่ว่า การตีความของรูปนั้นแตกต่างกัน)

นอกจากนี้ภาพส่วนใหญ่ ไม่มี contextual metadata หลงเหลืออยู่เลย ทั้งนี้ จะพบว่า การจัดเก็บและบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับภาพถ่ายต่าง ๆ จะไม่ norm ของสังคมเท่าไหร่นัก เช่นเอาง่าย ๆ ว่า ภาพนี้ใครเป็นคนถ่าย ถ่ายที่ไหน หรือใครอยู่ในภาพบ้าง ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งถ้าเป็นรูปภาพสมัยก่อน การจะดึงข้อมูลเหล่านี้มา จากรูปเพียงหนึ่งใบ อาจจะต้องอาศัยทั้งนักมนุษยวิทยา สังคมวิทยา นักประวัติศาสตร์มาช่วยกันวิเคราะห์เลยทีเดียว ซึ่งแน่นอน มันก็ไม่คุ้มกับการลงทุน เพราะฉะนั้น collection รูปภาพที่มีส่วนใหญ่ในห้องสมุด ก็มีแต่เพียงรูป แต่ไม่มี metadata เพื่อให้เข้าถึงได้

ถึงแม้ว่า ใครก็จะบอกว่า ประวัติศาสตร์ของอเมริกายังใหม่ (ดังนั้น จึงน่าจะมีการจัดเก็บข้อมูล สารสนเทศในเชิงประวัติศาสตร์ได้ดี) แต่จากประสบการณ์ส่วนตัว ก็ไม่ใช่เสมอไป สมัยหนึ่ง เคยต้องไปทำ digital collection หนึ่งของ Carnegie Library of Pittsburgh ซึ่งเป็น collection ของรูปภาพล้วน ๆ สิ่งที่ท้าทายมากที่สุดของ project นั้นไม่ได้อยู่ที่ความน่าเบื่อหน่าย (tedious) ในการ scan รูปภาพเหล่านั้น หากแต่อยู่ที่ metadata ที่ควรจะช่วยเป็นบริบทของรูปภาพจำนวนมากนั้น ๆ ไม่มี ที่พอจะหาได้บ้าง ก็จะเป็นตามหลังรูป ซึ่งมีรูปแบบที่แตกต่างหลากหลายกันไป (จริง ๆ นับว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจไม่น้อย หากมีคนสนใจจะทำวิทยานิพนธ์เรื่อง เกี่ยวกับ annotation หลังรูปภาพ เพราะน่าจะมีประโยชน์) และก็เป็นจำนวนน้อย รูปที่เหลือก็จะกลายเป็นเพียง bits ที่ถูกเก็บไว้ในฮาร์ดดิสเท่านั้น เพราะฉะนั้นโอกาสที่ collection พวกนี้จะถูกเอาออกมาใช้ แทบจะไม่มีเลย

สารสนเทศถ้าไม่ได้ใช้ ก็แทบจะไม่มีคุณค่า นึกถึงรูปที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์จำนวนมาก ที่ไปหลบอยู่ซอกหลืบไหนก็ไม่รู้ และเราก็ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน ถึงแม้จะรู้ว่าอยู่ในห้องสมุดนี่แหละ แต่จะให้เอาเวลาทั้งวันไปรื้อ ก็คงจะไม่ไหว (ถ้าไม่สำคัญจริง ๆ) การจัดเก็บที่ไม่ได้ช่วยให้เข้าถึงได้ง่าย ก็ดีกว่าการที่รูปปลิวตกไปอยู่ในถังขยะอยู่หน่อยเดียว

ดังนั้นความร่วมมือระหว่าง Flickr กับ LC ถือว่า เป็นโครงการที่น่าจับตามองทั้งในเชิงการจัดการทรัพยากร (ที่ได้กล่าวไปแล้วข้างบน) และในเชิงการให้บริการ และการมีส่วนร่วมของชุมชน

อย่างไรก็ตามความท้าทายของโครงการนี้ หลัก ๆ ผมมองไว้อยู่สองประเด็น ประเด็นแรก ก็คือ ความร่วมมือของชุมชน ที่ปราศจากแรงกระตุ้น (incentive) เป็นตัวเป็นตน ข้อสังเกตที่สำคัญ ก็คือ ความจริงที่ว่าคนส่วนใหญ่มักจะ tag รูปของตัวเอง มากกว่ารูปของคนอื่น (แน่นอน เพราะความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันมันมีมากกว่า) เพราะฉะนั้นการที่จะทำให้คน สนใจที่จะ tag รูปภาพเหล่านี้ (โดยไม่นับเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ) นั่นก็คือ ความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ (ในลักษณะชุมชน) และอาจแฝงไปด้วยชื่อเสียง

ซึ่ง incentive ที่ว่านี้ มันต้องอาศัย identity ติดมาด้วย ซึ่งกรณีนี้ Terrell เปรียบเทียบให้เห็นได้อย่างชัดเจน ว่า สิ่งที่ tag ใน del.icio.us กับ flickr ต่างกันก็คือ การที่เชื่อมโยง tag กับคนที่ tag เข้าด้วยกัน ทำให้เราทราบว่า ใครมองอะไร อย่างไร (แนะนำให้อ่านเพิ่มเติมบนบล๊อกของ Terrell ซึ่งค่อนข้างเขียนไว้ได้อย่างชัดเจน)
นอกจากนี้ แรงกระตุ้นอีกอย่างหนึ่ง และค่อนข้างเป็นทางตรง ก็คือ การมีสิทธิในการนำรูปภาพเหล่านี้ไปใช้ต่อ อย่างไรก็ตาม ประเด็นของการนำไปใช้งาน ค่อนข้างจะไม่ชัดเจนในเรื่องของ ลิขสิทธิ์ กล่าวคือ รูปที่อยู่ในโครงการนี้ ระบุไว้ว่า อยู่ภายใต้ “No known restrictions” ซึ่งในที่นี้ LC ขยายความไว้ว่า เป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองแต่หมดอายุ และไม่ได้มีการต่ออายุ หรือเป็นงานในช่วงปลาย คริสตศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 ที่ไม่มีหลักฐานการถือครองลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ตามก็มิได้หมายความว่า ตกไปเป็นของสาธารณะ (public domain) ในขณะที่ Flickr เอง ก็ตอบไว้อย่างคลุมเครือมาก ซึ่งเท่าที่ฟังจะโทนน้ำเสียง ก็ประมาณว่า “น่าจะได้” แต่ก็ไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า ทำอะไรได้ ทำอะไรไม่ได้บ้าง

2 ตอบกลับไปที่ “folksonomy รูปภาพและห้องสมุด”

  1. mk Avatar

    ผมกำลังทำการบ้านเรื่องนี้อยู่พอดี (ประโยชน์ของ social tagging) ได้ reference อีกอันเลย

    เรื่อง incentive ที่ทำให้คนใส่ tag ลองอ่านเปเปอร์ HT06, Tagging Paper, Taxonomy, Flickr, Academic Article, ToRead เขียนไว้ละเอียดเหมือนกัน โดยยกเคส del.icio.us vs Flickr มาด้วยครับ

  2. bact' Avatar

    กรณีเกมที่ให้ผู้ใช้มาแข่งกัน tag ภาพ ของ Google (Google Image Labeler)
    tag จำนวนหนึ่งมีคุณภาพต่ำ ในแง่ว่าไม่ได้บอกอะไรขึ้นมามากนัก เช่น tag ประมาณ man, woman, human ในภาพที่อาจจะเป็นภาพวิวทิวทัศน์ที่คนตัวเล็ก ๆ ยืนอยู่ หรือ object, thing สำหรับภาพใด ๆ
    แต่ปัญหาที่เกิดนี้ น่าจะเป็นเพราะลักษณะความเป็นเกม/มีจำกัดเวลา และความอยากได้คะแนนเยอะ ๆ ของผู้เล่น (เป็น incentive ที่ต่างไป)

    ดู issues/problems/abuse ใน http://en.wikipedia.org/wiki/Google_Image_Labeler

ใส่ความเห็น